ถาม : ผู้ปฏิบัติธรรมบางคน ชอบเล่าบ่อยครั้งว่าตนนั่งสมาธิฟังธรรมเป็นประจำ แต่เพื่อนในกลุ่มรู้สึกตรงกันว่า เขามักเอา
เปรียบและพูดจาว่าไม่ดีให้ผู้อื่นเสมอ ยุยงส่งเสริมให้เพื่อนในกลุ่มแตกแยกกันอย ากสอบถามว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นคะ
เราจะรู้ได้อย่ างไรว่า ใครคือคนที่ปฏิบัติฝักใฝ่ในธรรมโดยแท้จริง
ตอบ : การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นหนทางขัดเกลาจิตใจให้ลดความเห็นแก่ตัว ถอนความถือตัว และละความอหังการ (ยึดมั่นว่า
ตัวเรา) นี่คือสาระหลักแต่คนที่อ้างตนว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม แต่มีพฤติธรรมตรงกันข้ามนั้น น่าจะยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมตามสมอ้าง
ดังนั้น นักปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ต้องเป็นไปเพื่อการชำระความเย่อหยิ่ง ความถือตัว ความเห็นแก่ตัวอาจเรียกว่าเป็นผู้กำลังหัน
หลังให้กับอัตตาก็ว่าได้ และต้องปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นสม่ำเสมอหลักการของผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่
แท้จริง ควรมีลักษณะที่โดดเด่นและแจ่มชัด กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง หมั่นบำเพ็ญแต่
ความดีบริหารจิตของตนให้ผ่องใสเนือง ๆ ไม่กล่าวโทษหรือทำไม่ดีต่อผู้อื่น มีความสำรวมในข้อปฏิบัติอันชอบด้วยธรรมเสมอ
มักจะเป็นผู้รู้จักประมาณในการใช้ชีวิตเลือกเฟ้นสังคมหรือชุมชนที่เหมาะสม และขยันฝึกฝนตนเองอยู่ตลอดเวลา นี่คือหลักการ
สำคัญของนักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาและเป็นหลักสากลที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ถ้าถือปฏิบัติผิดแผก
แตกต่างไปจากหลักการเช่นนี้ก็แสดงว่า ผู้นั้นยังไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องอย่ างแท้จริง
ฉะนั้น จากคำถามนี้อาจพิจารณาได้ด้วย 2 เหตุผล คือ
1 : ผู้นั้นอาจไม่ได้ปฏิบัติธรรมตามกระบวนการโดยแท้จริง
เพียงแต่สละตนเข้าปฏิบัติธรรม เพื่อให้ตัวเองได้ถูกเรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติจริง และไม่สามารถ
เข้าถึงหลักการที่แท้จริงได้ เ พ ร า ะรับเอาแต่เฉพาะรูปแบบการปฏิบัติตามคนอื่นแต่ตนเองไม่เข้าใจว่า ตนได้ปฏิบัติธรรม
จริงหรือเปล่า หรือกำลังได้อะไรจากการเข้าปฏิบัติธรรมนั้น นี่เรียกว่า หลอกทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย ประเภทนี้จะเสีย
ประโยชน์ตนและเสียเวลาเปล่า
2 : ผู้นั้นอาจเป็นผู้สละตนเข้าปฏิบัติธรรมจริง แต่ว่ามีอุปนิสัยดั้งเดิม
เช่น ความโลภ แล้งน้ำใจ หรือมีนิสัยปากเปราะ ชอบว่าไม่ดีให้ผู้อื่น ยังคงทำหน้าที่อยู่ก็เป็นไปได้ เ พ ร า ะอุปนิสัยนั้น
บางทีไม่อาจสลัดออกไปได้โดยสิ้นเชิงทีเดียวเ พ ร า ะมันเป็นกิเลสที่นอนเนื่อง เป็นสันดานติดตัวมาจากหลายภพชาติ
ที่ผ่านมา เคยสั่งสมพฤติกรรมเก่าในอดีตชาติดังนั้น ผู้อ้างตนว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมท่านนี้ แม้เข้าปฏิบัติธรรมก็จริง แต่ยัง
ไม่สามารถละอุปนิสัยเดิมก็เป็นได้ แต่คำถามที่น่าสนใจคือ เราจะรู้ได้อย่ างไรว่า ผู้ใดคือผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริง
ควรมีหลักการสังเกตไว้ดังนี้
1 : จิตใจต้องอ่อนโยน ละเอียด ละเมียดละไม เป็นผู้สงบ ผู้อยู่ใกล้ชิดจะสามารถสัมผัสความเยือกเย็นของเขาได้ โดย
การแสดงออกผ่านการกระทำ
2 : ผู้ปฏิบัติธรรมมักมีจิตเอื้อเฟื้อ เสียสละ เห็นใจคนอื่นง่าย ประกอบกับมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง
3 : ผู้ปฏิบัติธรรมมักมีปฏิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาด มีความรู้เรื่องศีลธรรม และตระหนักในคุณค่าของความดีเสมอ