เช็กลิสต์ 9 ข้อ ท่องโลกออนไลน์ให้ปลอดภัย ไกลมิจฉาชีพ
ช่วงนี้ระวังหน่อย เล่นเน็ตบ่อย ๆ ควรป้องกันยังไงมาดูกัน
1 : คิดให้ดี ก่อนคลิกทุกครั้ง
หากได้รับ SMS ข้อความ หรืออีเมล ที่แจ้งว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน หรือแจกรางวัล
ฟรี ไม่ควรคลิกเชียว ! เ พ ร า ะบางทีอาจเป็นการขโมยข้อมูลส่วนตัวได้
2 : ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไวรัส
ทุกครั้งหลังใช้งาน อย่ าลืม! ตั้งค่าโปรแกรมป้องกันไวรัสให้อัปเดตอัตโนมัติ
เพื่อป้องกันการควบคุมกล้องระยะไกล
3 : ตั้งรหัสผ่านให้รัดกุม
ไม่ควรตั้งง่ายจนเกินไป หรือเอาข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิด มาตั้งเ พ ร า ะ
อ า จ ทำให้ผู้อื่นเข้าใช้งานอุปกรณ์ส่วนตัวของเราได้ง่าย และควรตั้งค่า
ค ว า ม ปลอดภัยหลายชั้น ใช้ข้อมูลอย่างน้อย 2 รายการในการ login
เข้าบัญชี เช่น มีการส่งรหัสผ่านทาง SMS เพื่อใช้ยืนยันการเข้าสู่ระบบ
อีกที ลายนิ้วมือ ใบหน้า หรือยืนยันด้วยคำถามที่มีแค่คุณที่รู้คำตอบ
4 : เปลี่ยนพาสเวิร์ดเป็นประจำ
ควรเปลี่ยนรหัสผ่านทุก ๆ 3-6 เดือน โดยตั้งรหัสผ่านด้วยตัวอักษรผสมกับ
ตัวเลข เพื่อให้เดาย ากขึ้น และไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันทุกช่องทาง
5 : ลดการระบุตัวตนผ่านเว็บไซส์
เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ลองเปลี่ยนการเข้าใช้งานผ่าน
เ บ ราว์เซอร์โครม (Chrome) หรือ ซาฟารี (Safari) ในโหมด “ไม่ระบุ
ตัวตน” หรือ “ไพรเวท” ก็ช่วยได้
6 : จริง หรือ มั่ว เช็กให้ชัวร์ ?
เช็กแหล่งที่มาเพื่อความน่าเชื่อถือได้จาก Google Fact Check Tools
https://toolbox.google.com/factcheck/explorer
7 : ประชุมออนไลน์ให้ปลอดภัย
WFH รอบนี้ส่วนใหญ่ประชุมออนไลน์มากขึ้น เข้าประชุมงานจากเบราว์เซอร์
แท นการติดตั้งซอฟต์แวร์ปลอดภัยกว่า แนะนำให้สร้างรหัสการประชุมใหม่
ทุ ก ค รั้ ง ตั้ งค่าไม่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเผยแพร่ไฟล์ได้ เช็คดูชื่อผู้เข้าร่วม
ประชุมบ่อย ๆ และอัปเดทโปรแกรมเป็นประจำ
8 : อีเมลที่ใช้รักษาความปลอดภัยให้เป็นส่วนตัว
ถ้าใช้อีเมลในการทำงาน ติดต่อ หรือคุยธุระส่วนตัวอยู่ ต้องตั้งรหัสผ่านตัว
ให้รัดกุม เปิดใช้งาน Two-Factor Authentication ตั้งค่าอีเมลสำรอง
เพื่อการกู้คืน และอย่ าตอบกลับอีเมลที่น่าสงสัย
9 : ส่งข้อความแบบไร้คนส่อง
แอปที่แนะนำ คือ เฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ (FB Messenger), ไวเบอร์ (Viber),
วอตส์แอปป์ (WhatsApp) และเทเลแกรม (Telegram) โดยสามารถใช้
แทนการแชทผ่านหน้าแอปอื่น ๆ เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่ว