จริงๆแล้ว การเปรียบเทียบกันก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไปในทุก ๆ สังคม หรือแม้แต่ในครอบครัวเลยก็ว่าได้
และหากลองสังเกตดี ๆ การเปรียบเทียบหลายต่อหลายครั้งเกิดจากความตั้งใจและปรารถนาดีของ
คุณพ่อแม่ แต่มันดันกลายเป็นสิ่งที่ทำ ร้ า ย จิตใจลูกอย่ างไม่น่าเชื่อ ด้วยคำพูดที่ดู้หมือนไม่มีอะไร
เช่น “ ดูสิ ลูกบ้านนั้นเค้ายังทำแบบนี้ได้เลยนะ ทำไมห นูทำเหมือนเขาไม่ได้ล่ะ ”
หรือ “ ดูพี่คนนั้นสิ เค้าเก่งมากเลย ทำนี่ก็ได้ ทำโน้นก็ดีหมด หนูต้องทำให้ได้แบบพี่เค้านะลูก ”
ด้วยความคิดเห็นส่วนตัวของแม่ยุ้ยเอง ที่สงสัยอยู่เสมอกับประโยคทำนองนี้ว่า อะไรที่ทำให้พ่อแม่
ปู่ ย่ า ตา ยาย ต้องคิดแบบนั้น คิดว่าคำพูดลักษณะนี้จะช่วยให้เราอย ากจะทำอะไรต่อมิอะไรที่เหมือน
คนอื่น ๆ หรือทำให้ได้เพื่อทัดเทียมคนอื่น ๆ พอเวลาผ่านมาจนถึงวันที่ได้ยืนในจุดที่เราเป็นพ่อแม่นั้น
จึงทำให้ย้อนกลับมาคิดถึงความรู้สึกเมื่อโดนนำไปเปรียบเทียบกัน เพราะคนแต่ละคนนั้นเติบโตมาใน
สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่แต กต่างกัน บุคคลิก ลักษณะ นิสัย ความสนใจ และสภาพทางก ายภาพ
ของคนทุกคนก็ต่างกันออกไป ไม่ต้องคิดอะไรมาก ขนาดพีน้องที่คลานตามกันมาแท้ ๆ ยังต่างกันเลย
นับประสาอะไรกับลูกบ้านเรากับลูกบ้านอื่น
กาลครั้งหนึ่ง…
เคยได้ยินคำว่า การเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นจะทำให้เกิดแรงฮึด !!!
แต่นั่นคือหนึ่งส่วนในสิบส่วนหรือเปล่าคะ แล้วคิดว่าแรงฮึดแบบที่ว่านี้เด็ ก
อนุบาล เด็กประถม ก็สามารถเข้าใจในจุดนั้นได้หรือไม่ เราเองเป็นพ่อเป็นแม่
หากลองคิดในมุมกลับกันบ้างว่า ถ้าวันนึงลูกเอ่ยว่า “ แม่ ทำไมไม่บ้านโน้นเค้า
ทำกับข้าวอร่อยกว่าบ้านเรา เวลาสอนการบ้านก็ไม่เสียงดัง ไม่ดุ ไม่ด่ าเหมือน
แม่ แม่ต้องทำให้ได้แบบแม่บ้านโน้นนะคะ ” ถ้าลูกพูดแบบนี้บ้าง คุณจะรู้สึก
อย่ างไรคะ ?? แล้วก็ไม่แปลกที่เด็ กที่เติบโตมากับการถูกนำไปเปรียบเทียบ
กับคนอื่น จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ช่างเปรียบ ช่างเทียบ เพราะเขาก็ถูกหล่ อ
หลอมมาเช่นนั้น
อย่ าทำให้โลกของลูกเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ว่าตัวเองด้อยค่า เพราะทำอะไร
ก็ไม่ดีเท่าคนอื่น อย่ าทำให้ลูกเติบโตมาแบบไม่แน่ใจว่า ตกลงฉันมีอะไรดีบ้าง
เพราะฉันไม่เท่าเทียมกับคนอื่นเลย และอย่ าให้ลูกเติบโตมาด้วยไม่แน่ใจว่า
พ่อแม่เห็นความดีในตัวหนูบ้างไหม ? เพราะเห็นแต่ชมลูกคนอื่น บอกว่าลูกคน
อื่นดีอยู่ตลอด แล้วหนูหละ ??
ลองปรับเปลี่ยนมุมมองกันใหม่ดีกว่านะ อย่ ามัวแต่คิดว่าลูกเราด้ อยยังไง
ทำอะไรได้น้อยกว่าลูกคนอื่นแค่ไหน หรือลูกเราเสี ยเปรียบลูกคนอื่นเรื่อง
อะไร ลองเปลี่ยนเป็นช่วยกันเสริมสร้างความรู้สึก ภาคภูมิใจในสิ่งที่ลูกเรามี
สิ่งที่ลูกเราเป็นช่วยกันดึงข้อดีที่มีออกมาสนับสนุน และช่วยกันพัฒนาจุดอ่อน
ที่ยังต้องฝึกฝนไปด้วยกัน ชี้ให้ลูกเห็นว่าจุดนี้เราต้องพย าย ามเพิ่มเพราะอะไร
ไม่ใช่เพื่อให้เท่าเทียมกับใคร สอนให้ลูกมีจุดพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี แต่ก็เรียนรู้
ที่จะสร้างแรงบันดาลใจที่จะก้าวต่อไปด้วยแรงที่มาจากข้างในตัวเอง ไม่ใช่มี
คนอื่นเป็นเครื่องวัดตัวเรา
ขอขอบคุณ theplatustory