6 เคล็ดลับฝึกทักษะการสื่อสารอย่ างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตและในการทำงาน ถึงแม้ว่าเราจะมีความคิดไอเดียดีแค่ไหน
แต่ถ้าไม่รู้จักสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ก็คงไม่สามารถทำให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้ ที่ต้องพึงระวังยิ่งกว่านั้นคือการ
ที่พย าย ามจะสื่อสาร แต่ไม่มีความชำนาญอาจถึงขั้นทำให้หลายฝ่ายเข้าใจผิดเกิดปัญหาขึ้นและทำให้เกิดความ
ผิดพลาด เสียหายในที่สุด
หลาย ๆ คนมักมองว่าการสื่อสารเป็นเรื่องที่ง่าย เลยไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือใส่ใจมากเท่าที่ควร ทั้งที่ในความ
เป็นจริงแล้วการสื่อสารเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแต่จะว่าย ากก็ไม่ย ากขนาดนั้นขอเพียง
แค่ต้องใส่ใจ ฝึกฝนและคิดตามดังข้อแนะนำต่าง ๆ ต่อไปนี้
1 : ถ้าจำไม่ได้ต้องจด
บ่อยครั้งที่เราอยู่ในการประชุมอันย าวนาน และมีข้อถกเถียงข้อสรุปเกิดขึ้นมากมายที่เราต้องน้อมรับไปปฏิบัติต่อ
หรือต้องนำไปถ่ายทอดให้คนอยู่นอกห้องประชุมฟังเพื่อนำไปปฏิบัติติดตามงาน โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีมากมาย
หลายข้อหลายเงื่อนไข เพื่อกันพลาดจดหรือบันทึกสักนิดจะดีมั้ยเพื่อไม่ให้ลืม อุปกรณ์การจดแล้วแต่ความถนัด
บางคนถนัดวาดเป็นรูปภาพก็สามารถทำได้ หรือสมัยนี้ทันสมัยกว่า แค่คว้าสมาร์ทโฟนมาถ่ายภาพเก็บเอาไว้ก็
ได้เช่นกัน เอาที่ตัวเองอ่านเข้าใจและนำไปถ่ายทอดได้อย่ างมีประสิทธิภาพจะดีที่สุด
2 : จับประเด็นสำคัญ
ในหนึ่งเรื่องราว หนึ่งคำสั่งที่เราได้ยินมา มันอาจจะเป็นเรื่องอารัมภบทต่าง ๆ นานา หรืออาจจะเป็นกลยุทธ์ยุทธ
ศาสตร์อะไรที่ย าวเหยียดมาก ๆ ก็ได้ ถ้ารับได้รับการมอบหมายให้เป็นผู้ส่งต่อสาร ก่อนจะไปบอกไปสั่งงานใคร
เราควรเรียบเรียงใจความสำคัญในสมองตัวเองสักนิด ว่าเราจะไปเล่าต่ออย่ างไรดี ให้กระชับและเหมาะสมกับ
บริบทของเนื้องานมากที่สุด การสื่อสารที่ดีไม่ใช่ว่าต้องไปพูดในทุกสิ่งที่คุณได้ยินมาให้ผู้ฟังรับทราบ ถ้ามัน
ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับเนื้องานก็ไม่จำเป็นต้องพูด
3 : สื่อสารให้ตรงประเด็น
เมื่อเรียบเรียงจับประเด็นสำคัญได้แล้ว เวลาต้องถ่ายทอดต่อก็อย่ าอ้อมค้อมพูดวนให้เกิดความสับสนไปอีก
สาร เมื่อได้รับการสื่อต่อหลาย ๆ ทอด ก็ย่อมเกิดความบิดเบือนได้มากอยู่แล้ว อย่ าไปพย าย ามจัดสรรปั้น
คำพูดให้ดูสวยงามแต่น้ำท่วมทุ่ง จนทำให้ผู้ฟังต้องไปจับประเด็นอีกรอบหนึ่ง พูดให้ตรงประเด็นจะย่น
ระเวลาได้อีกเยอะ เอาเวลาไปทำงานดีกว่าม าถอดรหัสคำพูด ว่ามั้ยคะ
4 : รู้ว่าต้องพูดอะไร กับใคร
ต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร ว่าเขาจำเป็นต้องรู้เรื่องไหน แล้วไม่ควรรู้เรื่องไหนบ้าง ต้องพูดอย่ างไรเพื่อประสาน
ประโยชน์ของหลาย ๆ ฝ่ายให้ลงตัว ในเรื่องเดียวกันถ้าเราให้ผู้บังคับบัญชาฟัง ก็ควรหยิบเอาประเด็นที่
ผู้บังคับบัญชาสนใจมาเล่าให้ฟังเ พ ร า ะอาจมีผลต่อนโยบายบริหาร แต่ถ้าเราให้ผู้ใต้บังคับบัญชาฟัง
อาจจะต้องเล่าอีกมุมหนึ่ง เป็นต้น
5 : พย าย ามทำความเข้าใจกับทั้ง 2 ฝ่าย
ย ากที่สุดของการสื่อสาร คือ การเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างหลาย ๆ ฝ่าย ในเบื้องต้นเราต้องเข้าใจคน
ทั้ง 2 ฝ่าย ว่าแต่ละฝั่งมีความต้องการแบบไหน ในเรื่องใด และเค้าเหล่านั้นมี background ความรู้ในเรื่องราว
ต่าง ๆ มาดีมากน้อยแค่ไหน จะเห็นได้บ่อยครั้งว่า บางคนไม่ได้ทำการบ้านมาก่อนทำการสื่อสาร แล้วหลุดพูด
อะไรที่อีกฝ่ายไม่ควรรู้ออกมา หรือพูดในสิ่งที่อีกฝ่ายตามไม่ทันเ พ ร า ะไม่มีการปูพื้นฐานเล่าย้อนเรื่องราวที่
น่าจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจก่อนเลย ทำให้ผู้ฟังอาจจะต้องหาจุดเชื่อมเรื่องราวเอาเองจนอาจเกิดเป็นความ
เข้าใจผิด หรือแต่งเกินเรื่องเดิมไปมาก ออกแนวมโนแจ่ม มโนไปไกล ดังนั้นจึงควรใส่ใจและทำการบ้านมาให้
มากก่อนจะเชื่อมประสานประโยชน์ระหว่างหมู่คณะ มิใช่ทุกคนจะรู้ทุกเรื่องแบบที่เราคิดว่าเค้าน่าจะรู้ และ
ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจในมุมมองแบบเรานะจ๊ะ โปรดระวัง และเมคชัวร์
6 : อย่ าใส่อารมณ์ตัวเอง
เรียกง่าย ๆ ว่าอย่ าดราม่า เมื่อเราเป็นคนตรงกลาง จะพูดจะคุยอะไรต้องระมัดระวัง อย่ าใส่อารมณ์ เหตุผลและ
ทัศนคติตนเองลงไปปรุงแต่งในสาร เ พ ร า ะอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงยิ่งกว่าเดิมได้ อย่ าได้ออก
ความเห็นจนกว่าจะโดนขอร้องให้แสดงความคิดเห็น ได้รับสารมาอย่ างไร หยิบประเด็นสำคัญมาสื่อสาร
ไปก่อน เซฟตี้เฟิร์สยังใช้ได้เสมอ