
เศรษฐกิจพอเพียง กับการวางแผนทางการเงิน
ในการดำเนินชีวิตของคนทุกคน ควรที่จะมีหลักยึด หรือกรอบแนวคิดอะไรบางอย่ างที่จะให้เราใช้เป็นที่ยึดมั่น หรือเป็นกรอบ
ทางเดินให้เรา เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของชีวิตที่ดี หนึ่งในความโชคดีของประเทศไทยที่เรามีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็น
ปรัชญาที่รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดซึ่งแนวคิด
นี้และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นก็เป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกๆ เรื่องทั้งในด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ
ภาคธุรกิจ รวมถึงการวางแผนทางการเงินสำหรับคนทุกคน
การวางแผนทางการเงิน ก็เป็นกระบวนการหนึ่งของทุก ๆ คน ที่มีจุดประสงค์คือต้องการเตรียมความพร้อมในการใช้เงินใน
อนาคต ต้องการสร้างความมั่งคั่ง ต้องการมีเงินที่พร้อมเกษียณ และต้องการสร้างความสุขให้คนใกล้ตัว แน่นอนว่าการวาง
เป้าหมายในชีวิตไว้แต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือกระบวนการในการวางแผนทางการเงินต่าง ๆ
ที่จะทำให้บรรลุผลลัพธ์ได้สำเร็จ
กระบวนการที่ดี ย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ฉันใด การวางแผนทางการเงินที่ดีก็ย่อมนำไปสู่ ความมั่งคั่งในอนาคตได้ฉันนั้น
และกรอบแนวคิดของการวางแผนทางการเงินก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เรามาดูว่าเราจะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง
ได้อย่ างไร
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสรุปออกมาอย่ างสั้น ๆ 3 หลักการคือ
1 : การมีเหตุผล
2 : การมีความพอประมาณ
3 : การมีภูมิคุ้มกัน
ซึ่งทั้ง 3 หลักการนี้ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานคือ (1) ต้องมีความรู้ และ (2) ต้องมีคุณธรรม
สำหรับหลักการข้อแรก การมีเหตุผล ความหมายก็คือ การที่ไม่เชื่อใคร หรือเชื่ออะไรง่าย ๆ จะต้องดูเหตุผลที่มีที่มาที่ไปและ
หาข้อมูลจากหลาย ๆ ทางก่อนที่ จะเชื่อ อะไรลงไป ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องมีความรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อไม่ให้หลงเชื่อผู้ที่ไม่หวังดี
และทำให้สภาวะทางการเงินของเราเสียหายไปจากข่าวที่มีการหลอกลวงการขายทริปท่องเที่ยวไปญี่ปุ่นในราคาถูกเกินจริง
หากเรามีหลักการข้อนี้ก็จะพิจารณาเหตุผล ที่มาที่ไปก่อนที่จะหลงเชื่อ หรือการไปลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนเกินจริง
โดยที่เราไม่รู้ข้อมูลอย่ างแท้จริง หรือที่มาที่ไปของผลตอบแทนที่โฆษณา เราก็ไม่ควรหลงเชื่อและนำเงินของเราไป
ทิ้งในสิ่งนั้น ๆ
หลักการข้อถัดมา หลักการของการมีความพอประมาณ ความหมายของคำว่าพอประมาณของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าความพอประมาณอยู่ในระดับใด แต่ทั้งนี้ให้ดูที่ความรู้ความสามารถของแต่ละคน แต่สิ่งที่ทุกคน
คว ร ที่จะพิจารณากระทำในหลักการของความพอประมาณคือ ความไม่ฟุ้งเฟ้อ ความประหยัด หรือการที่ไม่ทำอะไรที่มัน
สุดโต่งเกินไป เช่นกู้เงินมาจำนวนมากเพื่อต้องการให้ประสบความสำเร็จเร็วๆ เป็นต้น ทั้งนี้การประเมินความพอประมาณ
จึงต้องประเมินควบคู่กับความสามารถของเราว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่
หลักการข้อสุดท้าย คือหลักการการมีภูมิคุ้มกัน ความหมายคือ การไม่ประมาท คิดถึงความเสี่ยง หรือ ความผิดพลาดของเรา
ที่จะมีโอกาสเกิดขึ้น ข้อนี้จัดได้ว่าเป็นข้อที่สำคัญที่หลาย ๆ คนมองข้ามไป เ พ ร า ะเรามักจะคิดแต่ว่าจะวางแผนทางการเงิน
อย่ างไร ให้ประสบความสำเร็จโดยเร็วที่สุด โดยมองข้ามความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีโอกาสจะเกิด และถ้าเกิดขึ้นจะทำให้แผนการ
เงินของเราเสียหายในระยะย าวตัวอย่ างความเสี่ยงที่เห็นได้ชัดเช่น เราอาจจะมีโอกาสที่สุขภาพจะไม่ดีจนต้องเข้าโรงพย า
บาล เราอาจจะมีโอกาสประสบอุบัติเหตุทำให้ต้องสูญเสียเงินทองมารักษาหรือถ้าเราโชคไม่ดีเสียชีวิตก็น่าจะเกิดผลกระทบ
กับคนใกล้ตัว เป็นต้น การคำนึงถึงความเสี่ยงและหาวิธีทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน
ทั้ง 3 หลักการตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่สำคัญคือ ต้องมีความรู้ และต้องมีคุณธรรม การมีความรู้เป็นพื้นฐานที่สำคัญอยู่แล้ว ซึ่งการ
วางแผนการเงินก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้จึงจะสามารถวางแผนให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การมีคุณธรรม นั่น
รวมถึงความซื่อสัตย์ ไม่โกง ไม่สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ใดที่คิดดี ทำดี พูดดี ก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีค่ะ