ถ้าคุณเรียกร้านกาแฟว่า “ออฟฟิศ” นี่คือบทความสำหรับคุณ
คาดกันว่าภายในปี 2020 กลุ่มคนทำงานอิสระที่เรียกกันว่า “ฟรีแลนซ์” จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 50% ของตลาด
แรงงานทั้งหมด แม้ว่าวิถีฟรีแลนซ์จะมาพร้อมกับอิสรภาพอันหอมหวาน แต่ข้อเสียคือ คุณจะไม่มีความมั่นคงทาง
การเงิน สิทธิ์การเข้าถึงประกันสุขภาพ สิทธิ์ลาพักร้อน รวมไปถึงการตระเตรียมเงินออมหลังเกษียณอย่ างเป็นระบบ
“ฟรีแลนซ์” หรือ freelancer คือคำจำกัดความกว้างๆ ของหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น นักกฏหมาย นักเขียน คนทำงาน
ด้านไอที นักออกแบบ หรือใครก็ตามที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันหรือเป็นรายชิ้นไป พวกเขาอาจรักความอิสระจากการ
ที่ได้ทำงานหลายอย่ างๆ กำหนดตารางและระยะเวลางานด้วยตัวเอง แต่โดยรวม เรื่องเงินถือเป็นปัญหาสำหรับพวก
เขาอยู่ไม่น้อย จากโพลของ QuickBooks โดย Pollfish ที่ทำขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2018 พบว่า กว่า 36% ของคน
ทำงานอิสระในสหรัฐอเมริกาไม่ได้จ่ายภาษีเมื่อปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเ พ ร า ะมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ อีกส่วนเป็น
เ พ ร า ะพวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองทำรายได้ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งไม่ว่าจะกรณีใด ก็ดูจะไม่เป็นผลดีทั้งนั้น
จากโพลหนึ่งของ Marist/NP ที่จัดทำขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่าน พบว่ามี 1 ใน 5 จากแรงงานชาวอเมริกันที่ทำงานในฐานะ
contract workers หรือทำงานตามวาระสัญญาว่าจ้างชั่วคราว พวกเขาไม่ใช่ลูกจ้างประจำและไม่ได้สิทธิประโยชน์
ใดๆ เลย ดังนั้น เราจึงมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ชาวฟรีแลนซ์เหล่านี้จัดการการเงินต่างๆ ด้วยตัวเองได้
1 : ไม่ละเลยการจ่ายภาษี
อย่ าละเลยเรื่องภาษีเชียว แม้ว่าคุณจะไม่ได้มีรายได้ประจำ แต่ในฐานะฟรีแลนซ์ คุณคือนายจ้างของตัวเอง คุณจึง
ต้องไม่ลืมยื่นภาษีเงินได้ประจำปีและจ่ายภาษีให้ตรงตามกำหนดด้วย ซึ่งนี่รวมไปถึงภาษีเงินได้ในฐานะคนทำงาน
อิสระในส่วนของหลักประกันสังคมและสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนที่พนักงานจ้างประจำส่วนใหญ่ไม่ต้องจ่ายเองทั้งหมด
ในขณะที่ฟรีแลนซ์จะต้องช่วยเหลือตัวเองในส่วนนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนปรับย้อนหลังจากกรมสรรพากร
2 : ให้แอพพลิเคชั่นต่างๆ เป็นตัวช่วย
การเป็นฟรีแลนซ์ไม่ใช่แค่การทำงานที่คุณถูกจ้างให้ทำเท่านั้น มันไม่ต่างอะไรมากนักจากการทำธุรกิจโดยมีตัวเอง
เป็นสินค้าและบริการ คุณจึงต้องจัดการตัวเองให้ดี เพื่อจะได้ติดตามความคืบหน้าของงานต่างๆ ที่ต้องทำ ออกใบ
แจ้ง รายงาน ให้ลูกค้า และบันทึกรายรับของตนได้อย่ างเป็นระบบระเบียบนอกจากนี้ คุณยังต้องสามารถประเมิน
รายจ่ายการทำงานของตัวเองได้ด้วย อาจเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตพิเศษ ประกันชีวิต วัสดุอุปกรณ์
หรือพื้นที่ในการทำงาน จดบันทึกทุกสิ่งทุกอย่ าง ไม่ว่าจะเป็นกำหนดการจ่ายบิล และบัญชีรายจ่ายทั้งหมดที่ถูก
ใช้ไป ใน การ ทำงาน ฯลฯ โชคดีที่มีแอพพลิเคชั่นมากมายที่เป็นตัวช่วยให้คุณได้ เช่น Invoicely แอพที่ใช้สร้าง
จัดการ และบันทึกรายการงาน และทำบัญชีรายจ่ายรายได้ ลองหาแอพที่เหมาะกับการทำงานในแบบของคุณดูสิ
3 : วางแผนสภาพคล่องทางการเงิน
ไม่ว่าคุณจะทำงานในกองถ่ายหรือนักบัญชีภาษีอากรชั่วคราวคุณก็ต้องเตรียมตัวรับมือกับช่วงเงินฝืดเช่นกันเ พ ร า ะ
อย่ างที่รู้กันดีว่ารายได้เดือนต่อเดือนของชาวฟรีแลนซ์นั้นไม่สู้จะมั่นคงหรือคาดเดาได้นักเคล็ดลับในการสร้างสมดุล
คือการประมาณการว่ารายจ่ายต่อปีของคุณมีเท่าไหร่และหารออกเป็น 12 ส่วน จะได้รู้ว่าต้องหารายได้ต่อเดือน
ประมาณเท่าไหร่จึงจะครอบคลุมรายจ่ายนั้น เดือนไหนที่ได้เงินเยอะกว่าปกติ ก็ต้องไม่ลืมเก็บออมเผื่อเดือนที่อาจ
จะมีรายได้เข้ามาน้อย เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือการใช้จ่ายใดๆ ในอนาคตด้วย เช่น รถยนต์ บ้าน หรือการเดินทางไกลๆ
นักวางแผนด้านการเงินแนะว่าควรออมเงินให้เท่ากับจำนวนรายได้หนึ่งเดือนสำหรับกรณีฉุกเฉิน และถ้าเป็นไปได้
ควรออมเพิ่มอีกเป็นจำนวนเท่ากับรายได้เฉลี่ย 3-4 เดือนสำหรับภาวะเงินฝืดเคืองของการเป็นฟรีแลนซ์
การประหยัดโดยที่มีรายได้ขึ้นๆ ลงๆ นั้นเป็นเรื่องย ากกว่าที่คุณคิด ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินแนะนำว่าผู้ประกอบการ
ควรตั้งเป้าไว้เลยว่าต้องมีเงินเก็บครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมด การทำงานอิสระต้องอาศัยระเบียบวินัยในตัวเองสูง
คุณไม่ควรไม่ใช่รายได้ทั้งเดือนไปกับรายจ่ายในทันที
4 : ออมเงินเผื่อการดูแลสุขภาพ
แน่นอนว่าการทำงานฟรีแลนซ์ย่อมไม่มีประกันสุขภาพใดๆ มารองรับ หนทางในการเข้าถึงสิทธิ์ประกันสุขภาพจึงมี
เพียงการซื้อประกันให้ตัวเอง หรือไม่ก็รอรับสิทธิประโยชน์จากคู่สมรสเท่านั้น คุณจึงต้องทุ่มเทนิดหน่อยในการ
ศึกษารายละเอียดว่า มีประกันสุขภาพของบริษัทหรือองค์กรใดๆ ที่คุ้มค่าและสามารถเข้าถึงได้บ้าง
5 : อย่ าลืมว่าฟรีแลนซ์ก็มีวันเกษียณนะ
ชาวฟรีแลนซ์ส่วนใหญ่เลือกหนทางนี้เ พ ร า ะไม่อาจหาตำแหน่งงานในบริษัทที่เหมาะกับตัวเองได้ การทำงานอิสระ
จึงเป็นหนทางในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและเปิดประตูสู่โอกาสการทำงานใหม่ๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่ฟรีแลนซ์ทุกคนที่จะ
เป็นศิลปินไส้แห้ง มีฟรีแลนซ์จำนวนไม่น้อยที่ออกมาทำงานอิสระระหว่างรอหางานประจำที่ใหม่ ถึงอย่ างนั้นก็เถอะ
ชาวฟรีแลนซ์ทุกรูปแบบก็ต้องไม่ลืมนึกเผื่อวัยปลดเกษียณก่อนจะสายเกินไปด้วย การเปิดบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง
ปลอดภาษีก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีเช่นกัน
จากงานวิจัยของฮาร์วาร์ด ในปี 2015 จำนวนผู้คนที่เกี่ยวข้องใน “สายงานทางเลือก” หรือคนทำงานโดยไร้สัญญา
ผูกมัดระยะย าวกับองค์กรทั้งหลาย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.1 เป็น 15.18 นอกจากนั้น Alan Krueger and Lawrence
Katz นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันก็ยังพบว่ากว่าร้อยละ 94 ของงานที่ผุดขึ้นมาในช่วงปี 2005 ถึง 2015 ของ
สหรัฐฯนั้นล้วนเป็นงานชั่วคราวทั้งสิ้น
สำหรับคนส่วนใหญ่ คงไม่มีใครอย ากผัดผ่อนการเก็บออมเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณอยู่แล้ว และแน่นอนว่ามัน
ยิ่งจำเป็นขึ้นอีกหลายเท่าตัวสำหรับคนที่เลือกเดินบนสายงานอิสระเช่นนี้