อายุก็ไม่น้อยแล้ว สํารวจการเงินของตัวเองแล้วหรือยัง ?
ชีวิตเราจะเริ่มมั่นคงได้ตอนอายุเท่าไหร่กันนะ?? คุณเคยสํารวจตัวเองในเรื่องนี้หรือไม่
เมื่ออายุย่ างเข้าเลข 3 แล้ว คุณคิดว่าคุณมีฐานะการเงินที่มั่นคงแล้วหรือยัง? หรือเป้าหมายที่หวังไว้สําเร็จหรือไม่? เ พ ร า ะ
การออมเงินโดยการฝากเงินไว้ในบัญชีนิ่งๆอาจไม่ใช่คําตอบที่ดีเกี่ยวความรํ่ารวยอีกต่อไปเนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากมีอัตรา
ตํ่า แต่อัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้นอยู่อย่ างต่อเนื่อง เรื่องการเงินเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุวัยใกล้วัย
กลางคน แต่ยังไม่มีสินทรัพย์อะไรเลย ดังนั้นมาเริ่มต้นสํารวจไปพร้อมกันค่ะ
1 : ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาในชีวิต
หลายคนอาจมีชีวิตการทํางานที่ดีได้เงินเดือน ๆ ละหลายหมื่นหรือหลักแสน แต่การใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็มากเช่นกัน หรือ
มากพอ ๆ กับรายได้ที่เข้ามาเลยค่ะ สิ่งแรกที่ควรทําคือ การจดบันทึกรายการสินทรัพย์ เพื่อนํามาเปรียบเทียบกับหนี้สิน
ทั้งหมด และถ้าพบว่า หนี้สินมีมากกว่าสินทรัพย์ คุณก็ควรเริ่มต้นวางแผนด้านการใช้จ่ายให้รัดกุม เพื่อลดภาระ
ค่าใช้จ่ายลงต่อไป
2 : ทํางบการเงินในแบบของตัวคุณ
หากคุณทํางบการเงินขึ้นมา คุณจะทราบทันทีว่า เงินจํานวนมากหายไปไหนบ้าง และคุณใช้เงินแบบคุ้มค่าหรือไม่
เพื่อเริ่มต้นการบริหารเงินในแต่ละเดือนให้เหมาะสม และปรับสมดุลการเงินให้ดีกว่าเดิม
3 : เมื่อมีหนี้สินก็รีบใช้หนี้ให้เร็วที่สุด
หลังจากที่คุณเริ่มสํารวจตัวเอง และทําการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายแล้ว พบว่าคุณมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ที่มี แนะนํา
ให้พย าย ามปลดหนี้ที่มี ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต หรือค่าผ่อนสินค้าต่าง ๆ คุณก็ควรรีบปลดหนี้ให้เร็วที่สุด
เมื่อชําระหนี้หมดแล้ว คุณก็จะสามารถวางแผนเรื่องการออมเงิน หรือการลงทุนต่อไปได้
4 : บริหารความเสี่ยงให้เป็น
ความเสี่ยงของคนเรานั้น มีอยู่ 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่
ด้านสุขภาพร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายก็ย่อมเสื่อมสภาพลงไป
ด้านการเงิน ถึงแม้ชีวิตที่ผ่านมาจะมีรายได้เข้ามาอย่ างต่อเนื่องแต่ถ้าเกิดวิกฤติอาจพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้จ่าย
ไม่มีสภาพคล่องทางการเงิน
ด้านการดําเนินชีวิต สิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิต คือ การไม่มีสภาพคล่องทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
ของรายได้ที่เท่าเดิมแต่รายจ่ายสูงขึ้นทุกเดือนซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อการดําเนินชีวิตอย่ างแน่นอนเมื่อทราบอย่ างนี้
แล้ว อย่ ามัวรอช้า รีบทําความเข้าใจและหาวิธีการบริหารความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ดีกว่าค่ะ
5 : เงินสํารองต้องมี
เงินสํารองเป็นเงินประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เ พ ร า ะชีวิตของคนเราไม่แน่นอน เงินสํารองนี้เกิดจาก
การออมเงินในแต่ละเดือน ควรเก็บเงินสํารองไว้อย่ างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เช่น คุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 8,000 บาท
คุณก็ควรมีเงินสํารอง 48,000 – 50,000 บาท เ พ ร า ะ เงินจํานวนนี้สามารถช่วยรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า
ด้านการเงินได้ ซึ่งคุณก็จะได้ไม่ต้องกลับไปกู้หนี้ ยืมสินเหมือนก่อนอีกครั้งด้วยค่ะ
6 : เริ่มต้นวางแผนวัยเกษียณแต่เนิ่น ๆ
ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสในการเก็บออมเงินไว้ใช้ในย ามเกษียณก็น้อยลง เ พ ร า ะช่วงอายุของคนเราสั้น เหลือเพียงไม่กี่ปี
ก็จะไม่มีงาน และไม่มีเงิน ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการเงิน คุณจะต้องวางแผนก่อนถึงวัยเกษียณตั้งแต่ตอนนี้