เคยได้ยินเรื่องสั้น ขำขัน เรื่องหนึ่งไหม ที่เพื่อนคนหนึ่งถามเพื่อนอีกคนว่า “นายสูบบุหรี่มากี่ปีแล้ว?” เพื่อนตอบว่า
“20 ปี” อีกคนจึงบอกว่า “โฮ่ ถ้านายไม่สูบแล้วเอาเงินค่าบุหรี่ไปซื้อรถได้เลยนะเนี่ย” แล้วเพื่อนก็ย้อนว่า “แล้ว
นายไม่สูบบุหรี่ ไหนล่ะรถของนาย..”
ตลกที่ดูย้อนแย้ง แต่บนความจริงอาจเป็นเรื่องที่ “รู้อยู่แก่ใจ” คนที่คิดได้ก็คิดได้ คนที่ไม่คิดก็ไม่คิด การสูบบุหรี่
อาจไม่ผิดในแง่นี้ เ พ ร า ะถึงไม่สูบแต่ไม่เคย “คิดเรื่องการเงิน” วางแผนการเงิน มันก็ลำบากเช่นกัน
“คิด” เสียแบบนี้ไง
เราอาจมองอย่ างผิวเผินว่า ทำไมบางคนดูฟุ่มเฟือย ก็ไม่เห็นจะลำบากเลย หรือทำไมบางคนดูประหยั๊ด ประหยัด
ไม่เห็นรวยเลย..
ข้อแรก เรานั้นไม่รู้ทั้งที่มาของรายได้ และภาระของรายจ่ายของแต่ละคน ในคนที่มี รายจ่ายเกินตัวบนความ
จำเ ป็ น ต่ อ ใ ห้ประหยัดอย่ างไรมันก็ไม่พอ ส่วนคนที่มีรายรับหลายทาง ฟุ่มเฟือยอย่ างไรก็อาจไม่เดือดร้อน
รวมถึงบางทรัพย์สินที่เราตีค่าว่าเขาฟุ่มเฟือยนั้นมันอาจไม่ได้สิ้นเปลืองอย่ างที่คิดก็ได้เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อไป
ข้อสอง มีหลายเรื่องไม่อาจตัดสินด้วยเวลาในระยะสั้น คนมีวันนี้อาจไม่มีในวันหน้า คนที่ยังไม่มีอาจกำลัง
สร้างตัว ดังนั้นสิ่งที่เห็นอาจเป็นเพียงสิ่งชั่วคราวและ…
ข้อสาม คิดทำไมคนอื่นเขาจะยังไง ทำไมไม่คิดวางแผนเรื่องของตัวเอง? ไม่ได้กำลังตำหนิ แต่ลองทบทวนสิ
หากเราสงสัยมุมแบบนี้ เราก็จะท้อทำนองว่า ไม่รวยอย่ างเขา อย ากมีเหมือนเขา หรือทำไปก็ไม่รวยประหยัด
ก็ไม่เห็นรวย ไร้แรงจูงใจเ พ ร า ะมัวแต่ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น โดยที่เราไม่มีวันรู้ปัจจัยแท้จริงของเขาเลย
หากสนใจแต่เรื่องตัวเอง อาจมีไอเดียความคิดดี ๆ มากกว่านี้ก็ได้
คนมีเงิน ในเวลาปกติก็คิดถึงเรื่องเงินด้วย คนไม่มีเงิน มักคิดเรื่องเงินเฉพาะตอนมีปัญหา
ข้อสำคัญ มันเป็นเรื่องของกรอบคิด (Mindset) จริง ๆ คนที่มี จะคิดเรื่องเงินในเวลาปกติบ่อยกว่า คนไม่มี
เ พ ร า ะคนไม่มีจะคิดเรื่องเงินเฉพาะเวลามีปัญหา ทบทวนหรือมองรอบ ๆ ดูสิ จะพบว่าเรื่องนี้จริงถ้าเห็น
ด้วยก็พย าย าม “คิดสิ จะได้รวย”
รายได้เสริม กับรายได้แฝง
ยุคนี้หลายคนอย ากมีรายได้แบบที่เรียกว่า Passive income แปลไทยอย่ างเป็นทางการน่าจะยังไม่มี แต่ความ
หมายประมาณว่าเป็นรายได้ที่อยู่เฉย ๆ ก็เข้ามา ซึ่งก็ใช่ว่าอยู่เฉย ๆ เสียทีเดียว เรียกว่าทำน้อยแต่ได้เรื่อยๆมาก
กว่า เช่น แต่งเพลงหนึ่งครั้ง คนเอาลิขสิทธิ์ไปใช้ เขาก็ต้องจ่ายเราไปตลอด หรือลงทุนหนึ่งครั้ง เก็บเงินปันผล
กินไปเรื่อย ๆ และโดยส่วนใหญ่เป็นรายได้เสริมประเภทที่มัก ไม่ต้องลงแรง แต่ต้องมี “ความคิด” เสมอ
ในอีกด้านมุมเดียวกับเรื่องขำขัน หรือเรื่องสั้นด้านบน การไม่สูบบุหรี่ หรือเลิกรายจ่ายประจำในสิ่งที่ไม่จำเป็น
เช่น ติดน้ำอัดลม อะไรทำนองนี้ เ พ ร า ะเรา “คิดว่า” เลิกไปก็ไม่ได้ ทำให้มีเงินมากขึ้น มันแค่ “ลดรายจ่าย”
ลึก ๆ ใ น ใ จที่ไม่อย ากอ้างจิตวิทย า มันจึงเหมือนว่า เราไม่เสียเงินแต่ไม่ได้อะไรกลับมา จึงไม่มีแรงจูงใจ
อะไรในการประหยัดแบบนี้ แม้ที่จริงมันจะได้ประโยชน์ แต่มันต้องสะสมใช้เวลา จึงไม่เห็นข้อดี ณ ตรงหน้า
ก็ไร้แรงจูงใจเช่นกันแต่ในคนที่เขาประหยัดได้ คิดมุมนี้ได้ ในเชิงความคิดเขามันคือ “รายได้แฝง” ที่ทำให้
เขามีเงินเพิ่มไปจับจ่ายอย่ างอื่น…
มีรายได้เพิ่ม = ซื้อของเพิ่มได้ แล้ว มีเงินเหลือ = ซื้อของเพิ่มได้ เช่นกันจริงไหมล่ะ?
เมื่อใดก็ตามที่เขา มีเงินเพื่อไปทำอย่ างอื่นเพิ่ม คิดดี ๆ มันก็เหมือนมีรายได้เพิ่มนั่นแหละ แต่มัน “แฝง” อยู่ใน
สิ่งที่ “ไม่จำเป็น” เพียงแต่มันเป็นเรื่องที่ย ากที่จะทำให้เราคิดไปได้ในมุมนั้น เ พ ร า ะส่วนหนึ่งมันก็คล้ายกับ
หลอกตัวเอง แต่บางทีการที่เราใช้เงินไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นทุกวันนั้น เราก็เพียงหลอกตัวเองด้วยบางอย่ าง
อยู่ดี เช่น ทำให้เราดูดีขึ้น ทำให้เรามีความสุขขึ้น ซึ่งผลมันเห็นอยู่กับที่ผ่านมาและอนาคตต่อ ๆ ไป เราก็
จะหลอกตัวเองแค่ว่า “ช่างมันเถอะ”
ตัวอย่ างหนึ่งที่ชัดเจนหากเคยมีประสบการณ์ คือหลังจากเราผ่อนอะไรไว้นาน ๆ และหมดงวด ไม่ต้องผ่อนแล้ว
ทำไมเราดีใจ และรู้สึกเหมือนมีรายได้มากขึ้นละ ทำไม? (แต่บางคนก็ไม่คิดสะสมรีบหาอย่ างอื่นผ่อนต่อทันที)
หากทบทวนเสียหน่อย ในเมื่อยังหารายได้เสริมไม่ได้ทำไมไม่เก็บ “รายได้แฝง” เหล่านี้มาใช้เอาเสียหน่อยละ
ที่ยังมีอีกนะ…
ของนี้ถูกหรือแพง คิดดี ๆ
นอกจากนี้ในอีกมุมที่เราเคย “ได้คิด” กันบ้างไหม แม้เป็นของที่ต้องใช้ เช่น บางคนซื้อรองเท้าที่ต้องใส่ทำงาน
ทุกวัน.เห็นว่าเป็นรองเท้าทำงาน (ไม่ได้ใส่อวดใคร) จึงซื้อมา 399 ครั้นใช้ไป 2 เดือนพังก็ไม่คิดอะไร เ พ ร า ะ
เห็นว่าใส่เกือบทุกวัน เออก็คุ้มนะในขณะที่หากซื้อ คู่ล่ะ 1500 ใส่ได้ปีกว่าอาจรู้สึกว่าแพงเ พ ร า ะเราจะเทียบ
1500 กับ 399 แน่นอนแพงกว่าเห็น ๆ “เ พ ร า ะเราไม่คิดไง” ไม่อธิบายต่อนะ ลองคิดดู 🙂
หรือเรื่องที่มองข้ามง่าย ๆ น้ำย าปรับผ้านุ่ม ถุงละ 10 บาท กับถุงละ 25 บาท อาจคิดว่า “เห้ยอะไรนักหนาใช้ได้
เหมือนกัน” แต่ปรากฏว่า ถุง 10 บาทซักครั้งแรก ใส่ 2 ฝาไม่หอม(เชื่อไหมคนใช้น้ำย าปรับผ้านุ่มเพื่อเน้นหอม
ไม่ใช่เน้นนุ่ม) สุดท้ายใส่เกือบครึ่งถุงต่อผ้าหนึ่งกอง จึงจะหอม ในขณะที่ ถุงละ 25 บาท เออ 2 ฝาหอมจริง
แล้วถุงหนึ่งใช้ได้ประมาณ 10 ครั้งแบบนี้ แต่เวลาไปซื้อก็คว้าถุง 10 บาทอยู่ดี กลัวว่ายิ่งคว้า 25 บาท
มาจะยิ่งเปลือง เป็นไปได้ว่าไม่เคยรู้จริง ๆ อาจคิดว่า 25 ก็น่าจะต้องใช้เกือบครึ่งถุงเหมือนกัน…
“เ พ ร า ะเราไม่ได้คิดไง”
ในอีกด้านก็มีเช่นกันยุคที่ของใช้หลายอย่ าง ใส่ชาเขียวแล้วบวกราคาเรากลับคิดว่าจ่ายแพงจะดี ใส่ถ่าน, ชาโคล
คาร์บอน, ก็คิดว่าจะดี ทั้งทีเป็นสินค้าแค่ตามกระแส คุณสมบัติแท้จริงไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงอะไรเลย เราก็จ่าย
ไปเพื่อสิ่งนั้น… “เ พ ร า ะเราไม่ได้คิดไง” ซึ่งมีอีกหลายเรื่องที่เรา “จ่ายแพง” โดยไม่ได้อะไรเพิ่มที่เคยเขียนไว้
ในบทความเก่า ๆ (ไว้เขียนรวบรวมสักตอนน่าจะดี)
การซื้อของจำนวนมากก็เช่นกัน ส่วนหนึ่งก็พอเข้าใจที่หลายคนอาจแย้งได้ว่า รู้ว่าซื้อเยอะประหยัดกว่า แต่งบ
ประมาณมันมีจำกัด หรือ เหมือนตัวอย่ างเดิม ลงทุนซื้อรองเท้า 1,500 มันก็เบียดเบียนสิ่งอื่น ก็เ พ ร า ะเป็น
เช่นนั้นไง จึงยิ่งต้องใช้การ “คิด” วางแผนว่าแบบไหนคุ้มที่สุดแต่ส่วนใหญ่คือไม่คิดอะไรเลยเอาแค่สะดวก
และ ยังมีประเภทที่ซื้อรองเท้าทำงาน 399 เพื่อประหยัดไว้ ซื้อรองเท้า 1,500 เพื่อใส่อวดไม่กี่ครั้งได้…
คิดสิจะได้รวย
คิดไม่เสียอะไร
เรามีสิทธิ์อ้างในตอนที่คิดหารายได้เพิ่มว่า “ไม่มีต้นทุน” แต่การใช้ความคิดไม่เสียอะไร คิดได้ครั้งเดียวนำไปใช้
ได้ตลอดชีวิต มีแต่ได้กับได้ เ พ ร า ะสำหรับคนไม่คิด ไม่ใช่เพียงเรื่องข้าวของจุกจิก บางคนซื้อรถยนต์ซึ่งใช่ว่า
ใครจะซื้อได้บ่อย ก็ยังเลือกยี่ห้อ/รุ่น ที่สุ่มเสี่ยง คิดว่าแค่ถูก แค่สวย หรือแพงแต่ถูกใจ ทั้งที่นี่คือสินทรัพย์เสื่อม
ค่าและเป็นของใช้ที่ดึงเงินจากกระเป๋าเราได้มากสุดอย่ างหนึ่ง โชคดีก็ดีไป เจอป้ายแดงต้องจอดอู่ 3-4 เดือน
เมื่อไหร่จะเข้าใจเอง
ก็เ พ ร า ะไม่ชอบคิด ไม่ชอบศึกษา ไม่ดูข้อมูลให้แน่ใจ และ มันสะท้อนถึงการคิดต้นทุน การบริหารจัดการ
หากวันหนึ่งมีทุนให้ลงมือทำอะไรขึ้นมา ระวังว่าจะไปไม่รอด เ พ ร า ะมันก็คือหนึ่งในเรื่องสำคัญ นี่แหละ
ถึงได้บอกว่า “คิดสิ จะได้รวย”
ถึงตรงนี้ถ้าใครถามผมกลับว่า แล้วผมคิดเยอะเนี่ย รวยหรือยัง ตอบเลยว่ายังไม่รวยหรอก… ถ้า “เทียบกับใคร
เขา” แต่ถ้าย้อนมองไปเฉพาะตัวเรา รวยกว่าสมัยยังคิดอะไรไม่ได้หลายเท่าจริง ๆ
เหมือนคนเลิกบุหรี่ที่อาจซื้อรถไม่ได้ แต่ชีวิตคงมีอะไร ๆ ดีขึ้นมากมายหลายด้านเช่นกัน… ที่เขียนมาก็ใช่อะไร
แค่อย ากช่วยให้เริ่มคิด…