1. ค่าใช้จ่ายประจำ
บอกได้เลยว่า คนกรุงที่อยู่กับครอบครัวกับคนต่างจังหวัด
ที่มาเช่าห้องอยู่ ค่าใช้จ่ายต่างกันราวฟ้ากับเหวเลยก็ว่าได้
คนอยู่หอเดือนหนึ่งเฉลี่ยโดนประมาณ 5,000 บาทขึ้นไป
แน่ๆ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ถ้าลดได้จะดีมาก แนะนำให้ลด เช่น
ค่าหอ ให้หารูมเมทมาแ ช ร์กัน ลองคิดง่าย ๆ เลย ค่าหอ
4,000 ถ้าได้รูมเมทมาเเชร์ครึ่งหนึ่ง เราจะมีเงินเหลือเก็บ
หรืออีก 2,000 ต่อเดือนเลยนะ
2. ค่าข้าวค่าน้ำ
ทางที่ดีพย าย ามควบคุมค่าใช้จ่ายรายวันให้อยู่ในงบ
พึงระลึกไว้ว่า เงินที่เหลือถัดไปจากก้อนนี้คืองบช้อปปิ้ง
และเที่ยว ถ้าเราสามารถประหยัดเงินจากตรงนี้ได้ เราก็
จะมีเงินเหลือให้ช้อปได้มากขึ้น และขอแนะนำให้ห่างไกล
สิ่งเหล่านี้ เช่น ชา กาแฟ ชานมไข่มุกที่ราคาแพง ๆ กิน
กาแฟฟรีในออฟฟิศไปก่อน ลองคิดดูนะ ถ้าเรากินกาแฟ
แก้วละ 50 ทุกวัน 20 วันต่อเดือน จะตกเป็นเงิน 1,000
บาทเลยทีเดียว
3. เ งินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ถ้าบริษัทของเรากองทุนตัวนี้ให้ แนะนำให้ทุกคนเลือก
ให้เขาหักจากเงินเดือนไปเลย อาจจะหัก 3% หรือ 5%
ก็สุดแท้ตามที่เราไหว แต่สิ่งที่สำคัญคือเขาหักไปบริษัท
ก็จะสมทบให้อีกเท่ากัน เช่น หักไป 3% หรือ 450 บาท
บริษัทจะสมทบให้อีก 450 บาท แต่ถ้าให้หัก 5% เท่ากับ
หักไป 750 บาท เราก็ได้อีก 750 บาท เพราะฉะนั้น ยิ่งให้
หักมาก เรายิ่งได้เงินมากเช่นกัน ส่วนนี้เป็นส่วนเงินออม
แรกเลยที่ควรให้หัก นอกจากได้สมทบเยอะยังช่วยเรา
ออมเงินได้อีกด้วย ส่วนประกันสังคมไม่ต้องพูดถึงเพราะ
โดนหักอยู่แล้วอั ตโ นมั ติ
4. เงินออมและให้พ่อแม่
คนที่ต้องให้พ่อแม่ ส่วนใหญ่จะหักให้ไปก่อนอยู่แล้ว
แต่เจ้าเงิ นออมนี่แหละที่หลายๆคนเอาไว้ทีหลัง คือมี
เหลือเท่าไรค่อยเก็บ ซึ่งขอบอกได้เลยว่าถ้าแบบนั้นมัน
จะไม่เหลือให้ออมนะสิ เพราะฉะนั้น ถ้าอย ากออมเงิน
จริง เงินเดือนออกปุ๊บให้รีบหยอดกระปุกเลยทันที แนะ
นำให้หาบัญชีฝากประจำแบบสะสมเท่ากันทุกเดือน จะ
ได้ด อ กเบี้ ยสูงหน่อย แต่ยังไม่แนะนำการลงทุนอื่น ๆ
ในขั้นนี้เพราะเงินเดือนเรามันยังน้อยอยู่ เผื่อลงทุนไป
ต้องมานั่งก็ป ว ด หั ว ต้องมาคอยกังวลว่า เงินลงทุน
ไปถึงไหนแล้ว เสี ย สมาธิกับการทำงานอีก