วิธีการ ก้าวข้ามความไม่มั่นใจในตนเอง
มนุษย์ทุกคนล้วนเผชิญกับความรู้สึกไม่มั่นใจ ณ จุดหนึ่งของชีวิต เป็นเรื่องปกติที่ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเรา
กำลัง ประเมิน การเผชิญหน้าสิ่งต่าง ๆ ว่าจะจบลงอย่ างงดงามหรือพังไม่เป็นท่า ในกรณีที่คุณคิดจะกระทำการบ้าบิ่นเป็น
อันตรา ยก็เป็นเรื่องสมเหตุผลที่จะเกิดความรู้สึกดังกล่าวปัญหาคืออาการไม่มีความมั่นใจลุกลามไปถึงสิ่งเล็กน้อยในชีวิต
ประจำวัน เช่น เมื่อพูดกับเพื่อนด้วยความจริงใจ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตในระดับหนึ่ง ต้องเข้าใจว่าแท้จริงแล้วชีวิต
นั้นไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งใดที่ดูเหมือนมั่นคงในวันนี้ภายภาคหน้าอาจเปลี่ยนเป็นเลว ไม่เหมือนเดิม
อีก แต่หากคุณฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็ง ก็จะก้าวข้ามผ่านปัญหานี้ได้และสร้างสิ่งที่สูญเสียไปขึ้นมาใหม่ตามที่คาดหวัง
ซึ่งจะนำความสุขสบายใจมาให้ทุกครั้ง หากอย ากทราบเคล็ดลับที่จะช่วยส่งเสริมคุณให้แข็งแกร่งขึ้นอย่ ารอช้าอ่าน
วิธีการด้านล่างเพื่อเริ่มต้นดีๆ ได้เลย
1 : ปรับมุมมอง
ฝึกคิดให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง. หากเชื่อว่าตนเองไม่มีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้ ลองหยุดคิด
สักพักหนึ่ง จินตนาการว่าเราเป็นคนใหม่ และจะให้คำแนะนำคนอื่นที่ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเราอย่ างไร ยกตัว
อย่ างเช่น คุณรู้สึกกังวลที่จะเข้าร่วมงานสังสรรค์โดยไม่รู้จักใครเลย หรือ กำลังจะไปสัมภาษณ์งาน ลองคำนึงถึงสิ่ง
ที่อย ากแนะนำให้เขาทำตาม การมองสถานการณ์ในลักษณะนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าความจริงแล้ว ไม่มีสิ่งใด
น่ากลัวและหากพย าย ามก็จะผ่านไปได้แน่นอน
2 : เขียนสิ่งที่กลัวลงบนกระดาษ
เขียนความกังวลและสาเหตุที่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าคุณไม่สามารถทำสิ่งใดสำเร็จได้ อ่านทบทวนหลายๆ รอบแล้วถาม
ตัวเองว่า จากที่เขียนไปทั้งหมดนั้นมีข้อไหนบ้างที่มีเหตุผลจริงๆ และสิ่งใดมีรากมาจากความคิดด้านลบ ใช้เวลาใคร่
ครวญ หาต้นตอ ของความกลัว เช่น กลัวเสียหน้า กลัวทำครอบครัว ผิดหวังหรือกลัวไม่ได้ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ
ประเมินดูว่าคุณจะสามารถกำจัดความกลัวไหนได้บ้างและมีวิธีการแก้ไขที่สร้างสรรค์เพื่อจัดการกับปัญหาของคุณ
ได้มากน้อยแค่ไหนอาการกลัวความล้มเหลวหรือเสียหน้าเป็นเรื่องปกติ ทุกคนล้วนมีความรู้สึกนี้เป็นครั้งคราว
แต่จะเริ่มไม่ปกติเมื่อคุณยึดติดกับความกลัวจนรู้สึกว่าทำอะไรให้สำเร็จไม่ได้แม้แต่อย่ างเดียว
3 : นึกถึงความสำเร็จในชีวิต
แทนที่จะมานั่งตอกย้ำตัวเองถึงความอับอายหรือล้มเหลวที่เคยเกิดขึ้น คุณควรพุ่งความสนใจไปที่ความสำเร็จแทน ไม่ว่า
จะเป็นด้านการเรียน ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนฝูงหรือเมื่อคนอื่นขำกับมุกตลกที่คุณเล่า ยิ่งนึกถึงเวลาที่ดีมากเท่าไหร่
ก็จะเกิดความมั่นใจว่าเราสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้อีกในอนาคตการบันทึกทันทีหลังจากเหตุการณ์แห่งความสำเร็จ
มีประโยชน์มาก ให้วางสมุดบันทึกไว้ที่โต๊ะใกล้มือเพื่อบันทึกความสำเร็จ ความภาคภูมิใจและความทรงจำที่ดี
4 : ถามตัวเองว่า จะแย่ที่สุดได้แค่ไหน จงซื่อสัตย์กับคำตอบของตัวเอง
หากคุณเปลี่ยนทรงผมใหม่แล้วมีคนไม่ชอบ โลกจะแตกเสียเมื่อไหร่ ถ้าคุณเกลียดสถานการณ์แบบนี้ เตือนตัวเองว่า เดี๋ยว
ผมก็งอก อย่ าให้ความกังวลไร้สาระมาเป็นอุปสรรคในการลองทำสิ่งใหม่ๆ เมื่อคุณทราบว่า มันก็แย่สุดได้ไม่เท่าไหร่ คุณ
ก็จะมีความเข้าใจถึงความเป็นไปของชีวิตและกล้าลองมากขึ้นหากตอบไม่ได้ว่าคุณไม่มีเหตุผลและเริ่มงี่เง่าเมื่อไหร่
ให้ปรึกษาใครสักคนที่ไว้ใจได้พวกเขาจะช่วยเตือนสติคุณว่าสิ่งแย่ๆ นั้นจัดการได้ หรือไม่คุณก็คิดมากไปเอง
5 : คราวนี้ถามตัวเองว่า ดีที่สุดได้แค่ไหน คนที่ไม่มั่นใจในตนเองไม่ถามคำถามนี้เท่าที่ควร เช่น
คุณนัดเดทกับใครสักคนเป็นครั้งแรก ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือคุณสองคนเข้ากันได้และมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่น่าพอใจ
และมีความหมาย มันไม่คุ้มหรอกหรือที่จะลองดูสักตั้ง แม้ว่าอาจไม่สมหวังเสมอไปแต่การนึกภาพด้านบวกไว้ก็ไม่เสีย
หายอะไรก่อนจะเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ ลองเขียนสิ่งที่ดีที่สุดที่มีโอกาสเกิดขึ้นหรือสามสิ่งที่ดีที่สุดก็ได้เพื่อจะได้มี
แนวคิดที่ดีอยู่ในหัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์จริง
6 : นึกถึงข้อดีของตนเองเสมอ
เพื่อจะเป็นคนมั่นใจคุณต้องเห็นข้อดีของตัวเองก่อน ทำรายการว่าคุณชอบตัวเองตรงไหน จะเป็นอะไรก็ได้เช่น มนุษย์
สัมพันธ์ดี ฉลาด ฯลฯ เรียกข้อดีเหล่านี้ขึ้นมาเมื่อคุณตัองปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น คนที่ไม่มีความมั่นใจจะย้ำคิดถึงแต่ข้อ
เสียของตัวเองซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจในตัวตนขึ้นจำไว้ว่าการพุ่งเป้าไปที่ข้อเสีย หมายความว่าคุณกำลังละทิ้ง
ข้อดีอยู่ หากคุณกดดันตัวเองอย่ างมากมาตลอดจะทำให้การมองเห็นคุณค่าของตนเองเป็นเรื่องย ากตั้งแต่แรก
7 : ฝึกพูดถึงตนเองในแง่ดี
หากพูดถึงตนเองในด้านลบมานานจนเป็นนิสัยก็จะไม่ค่อยสังเกตสิ่งใดเท่าที่ควร ยิ่งตอกย้ำตัวเองเป็นประจำว่าช่างขี้แพ้
ทำอะไรไม่สำเร็จ ไม่ดีสักอย่ างก็จะทำให้คุณถูกผูกมัดกับความรู้สึกนั้นตลอดไปพย าย ามคิดแง่บวกเพื่อที่จะมีกำลังใจ
เผชิญสิ่งใหม่ๆด้วยท่าทีที่ถูกต้องเคล็ดลับที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นกับการคิดบวกคือทุกครั้งที่รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจให้นึกเรื่อง
ดีสองเรื่องที่เป็นจริงเกี่ยวกับตัวเองมาไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่รู้สึกแย่ก็ได้ตัวอย่ างเช่น หากดื่มกาแฟที่ร้อน
จนลวกลิ้น แทนที่จะตำหนิตัวเองว่าช่างโง่สิ้นดี ให้นึกสิ่งดีขึ้นมาเลยเช่น แต่ฉันก็เล่นเทนนิสได้ดีแล้วก็เป็นคนตลก
ด้วยนะ อาจฟังดูแปลกแต่คุณต้องปรับแนวคิดให้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นให้ได้
8 : ถามตัวเองว่าทำไมถึงไม่กล้าทำ
ตอบตกลงให้บ่อยขึ้น แทนที่จะชักแม่น้ำทั้งห้ามาปฏิเสธประสบการณ์ใหม่ๆ พย าย ามนึกว่าอะไรจะเกิดขึ้นหนอหากเรา
ตกลงทำ ถึงแม้ว่าสาเหตุที่ปฏิเสธเป็นจริงแต่การตอบตกลงสามารถนำไปสู่สิ่งใหม่ที่ไม่คาดฝันได้ หากรู้สึกแย่หลังจาก
ตอบตกลงคุณสามารถทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้ แถมยังได้ประสบการณ์ใหม่มาให้จดจำมากกว่าตอนที่ตอบปฏิเสธ ถ้า
ไม่มีอะไรน่าจดจำเกิดขึ้นเลย คุณก็สบายใจได้ว่าอย่ างน้อยคุณก็เป็นคนที่มองโลกในแง่บวก ชอบเข้าสังคมและกล้า
ริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆสมมติมีเพื่อนจากชั้นเรียนดนตรีของคุณมาบอกว่าจะตั้งวงดนตรี อย ากให้คุณมาเข้าร่วมด้วยคุณอาจ
ปฏิเสธไปโดยอัตโนมัติโดยอ้างสารพัดว่า ไม่เคยอยู่ในวงดนตรีมาก่อน ไม่รู้ว่าจะทำอย่ างไรให้ออกมาดีได้ไม่คิดว่า
ตัวเองจะเป็นนักดนตรีได้ ไม่มีเวลา เรียนหนัก ฯลฯ
การคิดแบบนี้เป็นการปิดโอกาสที่จะค้นหาตัวเองก่อนที่จะเริ่มต้นเสียอีก คุณอาจมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน
ที่มาชวนและอีกหลายคนที่อยู่ในวง ได้ประสบการณ์ที่ดีมาเล่าให้คนอื่นฟัง ลองตอบตกลงแล้วรอดูผลลัพธ์จะดีกว่า