Home ข้อคิดดำเนินชีวิต เคล็ดลับในการวางแผนการบริหารการเงิน จากพอใช้ ให้เป็น มีเงินเหลือใช้

เคล็ดลับในการวางแผนการบริหารการเงิน จากพอใช้ ให้เป็น มีเงินเหลือใช้

0 second read
0
1,221

บริหาร “เงินที่พอใช้ ให้เป็น เงินที่เหลือใช้”

คุณภาพชีวิตและความมั่นคงในด้านการเงินในชีวิตจะมีขึ้นได้อย่ างแท้จริงก็ต่อเมื่อสามารถบริหารการเงินให้ปลอดหนี้สิน

มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายได้อย่ างไม่ขัดสนและมีเหลือสำหรับการออมและลงทุนเพื่ออนาคตด้วย ทว่าหลายๆ คนยังคง

ไม่ผ่านแม้แต่ขั้นแรกของการหาเงินชำระหนี้ต่าง ๆ ในแต่ละวัน จึงต้องกลับมาวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เริ่มแก้ที่

ต้นเหตุทีละเปาะแล้วจึงจะสามารถปลดหนี้และตั้งตัวได้ เคล็ดลับในการวางแผนการบริหารเงินมีดังนี้ คือ

รายรับ

รายรับเป็นตัวบ่งชี้สถานะที่แท้จริงทางการเงินเรา บางคนบางครอบครัวใช้น้อย ไม่ฟุ่มเฟือย หนี้น้อยแต่ก็ยังไม่สามารถตั้งตัว

สร้างฐานะได้ ไม่สามารถมีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำได้ ปัญหาคงไม่ได้มาจากหนี้สิน แต่ต้องมาบริหารรายรับหรือรายได้โดย

วิเคราะห์ว่ารายรับที่มีเข้ามาแต่ละเดือน สามารถเพียงพอในการใช้จ่ายและเหลือเก็บหรือไม่ ตราบใดที่ยังใช้เดือนชนเดือน

หรือใช้พอดีไม่เหลือเก็บหากยังนิ่งนอนใจอยู่จะไม่สามารถไปถึงจุดบริหารการเงินสำเร็จได้เลยวิธีแก้ไขก็คือต้องพิจารณา

งานที่ทำว่ารายได้ที่ไม่เพียงพอเป็นเ พ ร า ะอะไร งานที่ทำมีเงินรายรับน้อยเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อแม้จะเงินเดือนขึ้น

ก็ไม่สมดุลกัน ต้องคิดหาวิธีหารายได้เพิ่ม เช่น หางานพิเศษ รายได้จากทางอื่นเพิ่ม หรือเปลี่ยนงานเป็นงานที่มีรายได้

มากขึ้น เป็นต้น หากการใช้จ่ายพอดีไม่ฟุ่มเฟือยแต่ยังไม่มีเงินเก็บ แน่นอนว่าปัญหาอยู่ที่รายได้ที่น้อยไป เมื่อหาทาง

เพิ่มรายได้ได้ก็จะเริ่มมีหนทางที่จะมีเงินเก็บนั่นเอง

รายจ่ายหรือหนี้

ต้องหันมาจริงจังกับรายละเอียดหนี้ที่มีและรายจ่ายต่าง ๆ กันก่อนว่าในการบริหารเงินส่วนตัวและครอบครัวที่เรารับผิดชอบ

อยู่ มีหนี้ก้อนใดจากทางใดบ้าง และมีรายจ่ายประจำ รายจ่ายปลีกย่อยอะไรบ้าง

เริ่มจากหนี้ มีอยู่สองชนิดก็คือ หนี้ที่จำเป็นในชีวิตและหนี้ที่ฟุ่มเฟือย

1 : เมื่อเรารู้ที่มาที่ไปของเงินแล้ว เราก็ต้องมาปรับรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกันให้ได้

2 : บริหารเงินเป็นบวกได้อย่ างมีเสถียรภาพ คงไม่ใช่เพียงแค่การคุมรายรับรายจ่ายเท่านั้น แต่เป็นการทำให้เงินเก็บส่วน

ที่เหลือจากรายจ่ายแล้วเรานำไปทำให้งอกเงยได้ ยิ่งมีอัตราการงอกเงยสูงแค่ไหน ความมั่นคงทางการเงินส่วนบุคคลก็

มากขึ้นตาม ซึ่งทำได้โดยหาแหล่งลงทุน เมื่อรวบรวมเงินเก็บได้แล้ว ควรมองหาแหล่งลงทุนที่จะทำให้เกิดรายได้งอก

เงยออกมาจากเงินเก็บเหล่านั้น เช่นการลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น เงินฝาก ทองคำ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

เมื่อสามารถที่จะมีทรัพย์สินจากการลงทุนที่งอกเงยขึ้น นั่นหมายความว่าการบริหารการเงินส่วนบุคคลของคน ๆ นั้นเริ่ม

ประสบความสำเร็จ มีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณสามารถบริหารการเงิน จาก “ เงินพอใช้เป็นเงินเหลือใช้ ”

ได้ประสบความสำเร็จแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณหยุดการทำงานประจำ หรือเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในชีวิต การเงินและ

รายได้ก็ยังคงมั่นคงอยู่ไม่ส่งผลกระทบกระเทือนอีกต่อไป

Load More Related Articles
Load More By Life
Load More In ข้อคิดดำเนินชีวิต
Comments are closed.

Check Also

ผู้ประเสริฐ ผู้ยอดเยี่ยม นี่แหละคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับลูกๆ

ชาย ผ้ า ถุ ง ของแม่ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม้ไม่ต้องปลุ … …