เรื่องต้องรู้ ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน
“ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน …เป็นใครได้บ้าง”
โดยทั่วไปกำหนดว่าผู้กู้ร่วม ต้องมีสายโลหิตเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
-ผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน
อาจเป็นสามีภรรย า พี่น้อง พ่อ/ แม่กับลูก รวมทั้งเป็นญาติกันโดยมีนามสกุลเดียวกัน
-พี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุล
ก็สามารถกู้ร่วมกันได้ เพียงแต่แสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรที่ระบุว่าพ่อแม่เดียวกัน
-กรณีสมรสไม่จดทะเบียน
ก็แสดงหลักฐาน เช่น ภาพถ่ายงานแต่ง การ์ดงานแต่ง หรือการมีบุตรร่วมกันกรรมสิทธิ์
ในอสังหาฯ เป็นของคนเดียว หรือ หลายคน
การกู้ร่วมซื้อบ้านทำได้ 2 แบบ
1 : การใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เวลากู้ยืมใช้หลายคนมากู้ร่วม
2 : การกู้ร่วมโดยใส่ซื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิร่วมกัน
ส่วนใหญ่แล้วผู้กู้จะเลือกแบบที่สอง เ พ ร า ะผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหรืออสังหา
นั้ น ร่วมกัน แต่การถือกรรมสิทธิ์ร่วมมีเรื่องที่ต้องคำนึงคือ หากต้องการขายบ้านหรือ
อสังหาฯ นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมทุกคน
สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
จากดอกเบี้ยจ่าย ลดหย่อนอย่ างไร
ดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้บ้านสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุด
ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีภาษี
-กรณีของการกู้เดี่ยว
สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านจะเป็นของผู้กู้เพียงผู้เดียว
-กรณีของการกู้ร่วม
กรณีกู้ร่วมสองคนก็คือหารครึ่งนั่นเอง ให้หารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้