Home ข้อคิดดำเนินชีวิต 12 หลักการออมเงินเพื่อชีวิตการเงินที่มั่นคง..ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

12 หลักการออมเงินเพื่อชีวิตการเงินที่มั่นคง..ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

3 second read
0
5,423

12 ข้อคิด เพื่อชีวิตการเงินที่มั่นคง

12 ข้อคิด เพื่อชีวิตการเงินที่มั่นคง เป็นข้อคิดที่อยู่บนปฏิทินปีนี้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ซึ่ง เราได้รับมา เห็นแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์มาก ๆ จึงนำมาบอกต่อโดยหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้เพื่อน ๆ

ทุกคน สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินที่ตั้งไว้ได้นะคะ

1 : เริ่มความมั่นคงทางการเงินด้วย “การออม” : ออมอย่ างน้อย 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน

ออมก่อนใช้อย่ างน้อย 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน ไม่ว่าจะเป็นการออมเผื่อกรณีฉุกเฉิน ออมเพื่อ

เติมฝัน ออมเพื่อวันเกษียณ หรือออมเพื่อการลงทุน และอาจออมในผลิตภัณฑ์เพื่อการออม

รูปแบบอื่นนอกจากเงินสด

2 : เริ่มต้นก้าวแรกด้วย “เป้าหมาย” : ตั้งเป้าหมายการเงินให้ชัดเจน

เริ่มต้นก้าวแรกอย่ างมั่นคง ด้วยการตั้งเป้าหมายการเงินที่ชัดเจน วัดผลได้ รู้วิธีทำให้สำเร็จ

ไม่เพ้อฝัน และมีกรอบเวลาที่แน่ชัด

3 : ชีวิตการเงินดีต้อง “วางแผน” : วางแผนการเงินเป็นเรื่องของคนทุกวัย

ปลูกฝังนิสัยการเงินที่ดีแต่เด็ก แยกแยะได้ว่าอะไรจำเป็น โตเป็นผู้ใหญ่ไม่ใช้จ่ายตามกระแส

สร้างความมั่นคงให้ชีวิตตนเองและครอบครัว และก้าวสู่วัยเกษียณอย่ างสบายใจ

4 : ตั้งรับเผื่อ “ฉุกเฉิน” : ออมไว้ 3-6 เท่า ของรายจ่ายต่อเดือน

เ งิ น อ อ ม เผื่อฉุกเฉิน เป็นเงินออมก้อนแรกที่ควรมี เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเจ็บป่วย

หรือตกงาน ควรออมไว้ 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน และเก็บไว้ในบัญชีที่พร้อมใช้ได้ทันที

5 : ตั้งสติก่อน “ใช้จ่าย” : จำเป็นแน่ ๆ หรือแค่อย ากได้

ตั้งสติก่อนใช้จ่าย เสริมด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย แยกจำเป็นหรืออย ากได้ เพื่อหาและ

อุดรูรั่วในกระเป๋า ช่วยให้อนาคตการเงินที่สดใสเป็นจริงได้เร็วขึ้น

6 : ฉุกคิดก่อน “เป็นหนี้” : คุมภาระหนี้ไม่ให้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน

คิด จะเป็นหนี้ต้องรอบคอบ มองให้ออกว่าเป็นหนี้ดีที่ช่วยสร้างรายได้และความมั่นคง เช่น

กา ร ศึกษา ประกอบธุรกิจ หรือที่อยู่อาศัย หรือ หนี้พึงระวัง ที่เกิดจากการกู้เพื่อซื้อของที่

อย ากได้ อาจสร้างสุขแต่ไม่ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋า และควรควบคุมภาระหนี้แต่ละเดือน

ไม่ให้เกิน 1 ใน3 ของรายได้ต่อเดือน

7 : คิดก่อน “ค้ำ” : ก่อนค้ำใคร คิดให้รอบคอบ

เลี่ยงการค้ำประกันที่ไม่จำเป็น ก่อนจะค้ำประกันใครต้องคิดให้รอบคอบ ศึกษาข้อกฎหมาย

และสาระสำคัญให้เข้าใจ และสามารถทำข้อตกลง กำหนดเพดานค้ำประกันได้ เมื่อเกิด

ปัญหาจะได้ผ่อนหนักเป็นเบา

8 : เ พ ร า ะเรื่อง “ไม่คาดคิด” อาจเกิดขึ้นได้ : ประกันช่วยลดความกังวลและความไม่แน่นอนทางการเงิน

เรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น การเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ การทำประกันสามารถลดความ

กังวลกับความไม่แน่นอนของความเสี่ยงต่าง ๆ แต่ควรนึกถึงภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจาก

การทำประกัน ควบคู่กับการพิจารณาเงื่อนไขความคุ้มครองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ

9 : การ “ลงทุน” ทางเลือกเพิ่มพูนความมั่งคั่ง : ศึกษาเงื่อนไขและความเสี่ยงก่อนลงทุน

การลงทุนเป็นทางเลือกในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง โดยควรศึกษาเงื่อนไขและความเสี่ยง

ให้เข้าใจก่อนลงทุนครั้ง รู้จักแบ่งสัดส่วนและกระจายการลงทุนให้เหมาะสมกับความ

เสี่ยงที่ยอมรับได้

10 : ”รู้ทัน” ภัยทางการเงิน : เพิ่มความระมัดระวังในการทำธุรกรรมการเงิน

ภัยทางการเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น จนอาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อกลุ่ม

มิจฉาชีพที่ใช้กลโกงในรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ เราควร คิด ก่อน คลิก

เพิ่มความระมัดระวังในการทำธุรกรรมการเงิน และรู้เท่าทันภัยการเงิน

11 : วางแผนการเงินไปพร้อมกับเรื่อง “ภาษี” : รู้ค่าลดหย่อนและสิทธิทางภาษี

การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ควรวางแผนชำระภาษี

ให้ถูกต้อง เริ่มเรียนรู้ประเภทรายได้ รู้จักค่าลดหย่อนและสิทธิทางภาษี ก็จะมีส่วนช่วย

ให้การวางแผนการเงินเป็นไปอย่ างราบรื่น

12 : ”เกษียณสุข” ทุกคนมีโอกาส : เตรียมพร้อมชีวิตการเงินหลังเกษียณแต่เนิ่น ๆ

อ ย า ก เกษียณอย่ างไร้กังวล ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ โดยคำนวณเงินที่ต้องการใช้ด้วยสูตร

ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ เราก็จะรู้จำนวนเงิน

ที่ต้องวางแผนออมไว้ เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายอย่ างมีความสุข

Load More Related Articles
Comments are closed.

Check Also

ผู้ประเสริฐ ผู้ยอดเยี่ยม นี่แหละคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับลูกๆ

ชาย ผ้ า ถุ ง ของแม่ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม้ไม่ต้องปลุ … …