1 : รักผู้อื่นให้มากขึ้น
ไม่เช่นนั้นเราก็ไม่อาจรักตนเองอย่างถูกต้องได้ ความรักนั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านการรักผู้อื่น
จงรักผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัว จงให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ฝึกตนเองให้เป็นผู้ให้ ที่ให้เป็น
แล้วความรักที่เรางง ๆ อยู่ก็จะเดินไปสู่ความเป็นรักที่แท้จริงได้
2 : ทำปัจจุบันตรงหน้า
ระหว่างการใช้ชีวิต ควรมีสติระลึกรู้ว่า ขณะนี้ตนเองกำลังทำอะไรอยู่ กำลังทำงานก็อยู่กับงาน
กำลังเดินก็อยู่กับการเดิน มองต้นไม้ให้เห็นต้นไม้ มองฟ้าให้เห็นฟ้า ฟังเสียงนกร้องก็ขอให้ได้ยินเสียงนั้น
เหล่านี้คือการกำหนดใจลงสู่ปัจจุบันทั้งสิ้น
3 : ความดีที่มีอยู่ ควรเพิ่มพูน ส่งเสริมให้งอกงามยิ่งๆ ขึ้นไป
ภูมิใจในความเป็นคนดีของตน แม้มันจะเป็นเพียงความดีเล็กๆ แต่ต้นไม้ใหญ่ก็เคยเป็นต้นกล้ามาก่อนเช่นกัน
ควรสร้างเหตุปัจจัยให้ความดีของตนได้เติบโตต่อไป
4 : ความคิดโหยหาอดีต และความกังวลในอนาคตนั้น
เป็นความคิดที่สูญเปล่า และเป็นโทษซะส่วนใหญ่ ถ้าเป็นไปได้ ควรคิดให้น้อย แทนที่ความคิดไร้ประโยชน์เหล่านั้น
ด้วยการทำสมาธิ กำหนดลมหายใจ หรือการพิจารณาชีวิตในมุมที่สร้างสรรค์ เราต้องตระหนักว่า
ความทุกข์คือก้อนความคิด ที่สร้างมาจากเวลาที่นอกเหนือจากปัจจุบัน เมื่อเรารวมใจของเราลงสู่ปัจจุบันได้เมื่อไหร่
ทั้งอดีต และอนาคต ก็จะไม่สามารถทำร้า ยเราได้
5 : ขอขวัญที่ดีที่สุดคือ
รอยยิ้ม กำลังใจ และความจริงใจ จงแจกจ่ายของขวัญเหล่านี้ไปยังผู้คนที่พบเห็น ทำให้เป็นนิสัย
แล้วมิตรภาพดี ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิตของเราทุกวัน
6 : ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จงบอกตัวเองว่า สิ่งนั้นเราจะผ่านไปเสมอ
ไม่ว่าสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ จงมองดูเวลา ให้เวลาได้ทำหน้าที่ของมัน จงอดทน เข้มแข็ง
อย่ายอมแพ้ในสิ่งใดก็ตาม จงขอบคุณตัวเองที่พาชีวิตมาจนถึงวันนี้ ขอบคุณลมหายใจ
และสรรพสิ่งทั้งหลายที่ให้โอกาสเราได้เรียนรู้ชีวิตและสร้างสติปัญญา ให้เจริญงอกงามในจิตวิญญาณของเรา
ขอให้บอกกับตนเองเสมอว่า เราคือบุคคลที่โชคดีที่สุดในโลกแล้ว ที่ได้เป็นเจ้าของชีวิตของเราเอง
7 : เมื่อมีสุข ขอให้มองความสุข
รู้สึกกับความสุข แต่ให้เว้นที่ว่างเอาไว้บ้างว่า ความสุขนั้นย่อมมีวันจากเราไป ไม่ช้า.. ก็เร็ว
8: ย้ำเตือนตนเองอยู่เสมอ
ว่าสิ่งต่างๆ อยู่ด้วยเหตุปัจจัย อย่าคาดหวังในผล แต่จงสร้างเหตุ อย่าคาดหวังในรักที่ดี
แต่จงสร้างเหตุแห่งรักที่ดีอย่าคาดหวังในความร่ำรวยให้มากเกินไป แต่จงสร้างเหตุแห่งความร่ำรวยให้เกิดขึ้น
สิ่งนี้เองคือการทำทุกอย่างด้วยจิตว่าง เมื่อทำทุกอย่างด้วยจิตว่างได้แล้ว
ชีวิตก็จะพบกับหนทางแห่งความดีงามและความสุขได้ง่ายขึ้น
9 : เมื่อมีทุกข์ ขอให้มองความทุกข์
แล้ววางจิตใจไว้เหนือทุกข์ ทุกข์ส่วนทุกข์ เราส่วนเรา ยกจิตยกใจของเราขึ้นจากความทุกข์ให้ได้
ด้วยการกำหนดคความเป็นกลาง มองความทุกข์ เหมือนเราไม่ได้เป็นผู้ทุกข์
10 : อย่าพูดในสิ่งไม่ดี
อย่าพูดโกหก อย่าพูดความจริงที่ไร้ประโยชน์ อย่าพูดจาทำล า ยน้ำใจบุคคลอื่น อย่าพูดจาดูถูกตนเอง
และอย่าพูดอะไรที่ทำลายสังคม บุคคล และศาสนาที่ตนนับถือ
11 : ทำลายวงจรอุบาทของชีวิต
ด้วยการใส่กิจกรรมดีๆ เข้าไป เช่น การตื่นให้เช้าขึ้น กำหนดเวลากิน อยู่ หลับ นอน ขับถ่ายให้เป็นเวลา
ใส่ตารางการออกกำลังกายลงไปบ้าง ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้จิตวิญญาณของตน ตระหนักถึง
ความเป็นระบบระเบียบของชีวิต อย่าใช้ชีวิตแบบเดิมๆ เพราะนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า
และปัญหาทางใจอื่นๆ ที่จะตามมา
12 : จงฝึกจิตใจของตน
ขัดเกลาจิตใจของตนด้วยการกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ฝึกคิดอย่างเท่าทัน ฝึกสมาธิ
ฝึกกำหนดรู้ตามจริงเพราะชีวิตคือสิ่งไม่แน่นอน และไม่อาจคาดเดาได้ ดังนั้น เราจำเป็น
ต้องเตรียมพร้อมในทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เราต้องเตรียมความแข็งแรงของจิตใจไว้
เพราะการทำใจไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับผู้ไม่เคยฝึกฝน
13 : จงรักในหน้าที่ของตน
และพยายามเชื่อมโยงหน้าที่ของตน ไว้กับประโยชน์ของผู้อื่น หรือประโยชน์ของสังคม คิดให้ออกว่า
หน้าที่ของเรา สามารถช่วยอะไรสังคม หรือผู้อื่นได้บ้างและขยายความรู้สึกนึกคิดตรงนั้นให้งอกงามในใจ
การงานของเราก็จะเปลี่ยนจากการทำงาน เป็นการทำบุญ กลายเป็นคนที่มีใจและหน้าที่อันเป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา
14 : มองไปรอบข้าง ถามตนเองว่า..
มีใครบ้างที่มีความหมายกับชีวิตของเรา มีใครบ้างที่มีบุญคุณกับชีวิตของเรา บุคคลเหล่านี้คือบุคคล
ที่เราต้องดูแล ไม่อาจละเลยขอให้มองไปยังเขาเหล่านั้น แล้วถามตนเองว่า เราจะทำอะไรเพื่อเขาได้บ้าง
และลงมือทำทันที อย่าได้รีรอ เพราะเวลาไม่อาจย้อนคืนได้ใหม่
15 : ความเลวที่ทำอยู่ ควรละ ลด และเลิก
แต่ไม่ต้องโทษโกรธเคืองตนเอง พยายามควบคุมคำพูด การกระทำของเรา ให้อยู่ในคุณงามความดี
เพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น