Home ข้อคิดดำเนินชีวิต 6 วิธีบริหารเงินเมื่อเงินไม่พอใช้ ให้มีใช้อย่างไม่ลำบาก

6 วิธีบริหารเงินเมื่อเงินไม่พอใช้ ให้มีใช้อย่างไม่ลำบาก

0 second read
1
27,051

ปัญหาที่คนส่วนใหญ่มีเงินไม่พอใช้ ก่อนที่จะพูดถึงวิธีแก้ปัญหา ควรจะดูที่ต้นเหตุของปัญหาก่อน

ว่าทำไมถึงมีเงินไม่พอใช้ เชื่อว่าหลายๆ คนเมื่อได้เงินมาแล้ว ก็นำมาจับจ่ายใช้สอยไปโดยไม่มีการ

วางแผนไว้ก่อน อีกทั้งยังไม่ทันคิดถึงเรื่องเผื่อเงินไว้สำหรับการเก็บออม แค่เข้าช่วงกลางเดือนเงิน

ก็เริ่มทยอยใช้สอยจนหมด น่าจะเห็นกันแล้วว่าปัญหาที่ทำให้เงินไม่พอใช้ส่วนมากเกิดจากการขาด

วินัยในการใช้เงิน ถ้าอย ากมีเงินเหลือใช้แถมมีไว้เก็บออม ข้อแนะนำให้ทำดังวิธีต่อไปนี้

1.แบ่งเงินที่ต้องใช้ให้เป็นระบบ

มีเพียงแค่ไม่กี่คนที่เมื่อได้เงินมาแล้วจะแบ่งเงินที่ได้

ออกเป็นสัดส่วนเพื่อเตรียมใช้จ่ายตามที่ตั้งไว้ ส่วนใหญ่

มักจะรวมไว้ในกระเป๋าเดียว เมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้เงิน

ก็ค่อยหยิบออกมา แต่เมื่อรู้ตัวอีกทีก็ต้องพบว่าเงินนั้นใกล้

จะหมดแล้ว เพราะฉะนั้นจึงขอแนะนำเทคนิคการจัดการ

เงินไว้ใช้จ่ายให้เป็นระบบ โดยจะแนะนำให้แบ่งออกมาเป็น

4 ส่วนดังนี้ เงินสำหรับค่าใช้จ่ายประจำ เงินสำหรับใช้ในชีวิต

ประจำวัน เงินสำหรับเก็บออม และสุดท้าย เงินสำหรับใช้จ่าย

เพื่อความสุขส่วนตัว การจัดแบ่งเงินที่มีจะทำให้คุณเห็น

ขอบเขตของจำนวนเงินที่สามารถใช้ได้ในส่วนนั้น ๆ

2.พิจารณาค่าใช้จ่ายประจำ

ในที่นี้หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ ในแต่ละเดือน

เช่น ค่าเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่า อ า ห า ร ค่าผ่อนรถ ฯลฯ

หากลองพิจารณาดูแล้วค่าใช้จ่ายเหล่านี้นั้นมากไป หรือเกิน

กว่า 70% ของเงินเดือน คุณอาจต้องมองหาช่องทางใหม่

เพื่อลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลง เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้คุณจำ

เป็นต้องจ่ายแน่ๆ ในทุกเดือน หากไม่สามารถปรับลดลงได้

ก็จะเกิดปัญหาที่ต้องใช้เงินเดือนชนเดือนแบบนี้ไปเรื่อยๆ

ทางที่ดีค่าใช้จ่ายประจำเหล่านี้ไม่ควรเกินกว่า 40% ของ

รายได้เพื่อให้เหลือเก็บ และมีสำรองไว้ใช้เผื่อกรณีฉุกเ ฉิ นด้วย

3.แยกให้ออกระหว่าง อย ากได้ กับ จำเป็น

ถ้าคุณอย ากออมเงินและมีเงินไว้ใช้จ่ายให้เพียงพอ

ต้องแยกแยะให้ออกว่าสิ่งที่คุณกำลังจะซื้อนั้นมันจำเป็น

จริงๆ หรือแค่อย ากได้กันแน่ ถ้าคุณแค่อย ากได้แล้วเงิน

ที่มีอยู่เริ่มจะไม่พอใช้ คุณจำเป็นต้องสร้างวินัยในการใช้

เงินให้กับตัวเอง แม้ว่าครั้งแรกๆ อาจจะเป็นเรื่องย ากแต่

เมื่อคุณทำไปบ่อยๆ คุณก็จะใจแข็งขึ้นได้

4.หารายได้เสริม เพื่อเพิ่มโอกาสทางการเงิน

หากพิจารณาค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนดูแล้ว เงินก็ยังมีไม่

พอใช้ อีกทั้งยังไม่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ หากเกิดกรณี

แบบนี้คุณอาจจะต้องหาช่องทางสร้างรายได้เสริม เพื่อสร้าง

เงินทุนสำรองสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและยามฉุ กเ ฉิ น

ถ้าอย ากมีรายได้เพิ่มเติม

5.มองให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ด้วยบัญชีรายรับรายจ่าย

ในบางครั้งพอลองมานั่งคำนวณค่าใช้จ่ายที่ผ่านมา

อาจจะสงสัยกันว่า ‘เอ๊ะ เงินส่วนนี้หายไปไหนกันนะ’

อาจเป็นเพราะว่าเรามีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่เผลอ

ใช้ไปโดยไม่ทันได้นึกถึง อย่ างเช่น ค่าขนม 20 – 30

บาท ฟังดูเหมือนเป็นเพียงค่าใช้จ่ายเล็กน้อยที่ไม่ส่ง

ผลอะไร แต่เมื่อรวมกันหลายๆ ชิ้นแล้ว ก็เป็นค่าใช้จ่าย

ที่เยอะพอสมควรเช่นกัน ซึ่งมักจะซื้อโดยไม่ทันร ะวั ง

หากลองคิดดูดีๆ คุณอาจจะเสี ยเงินไปสินค้าเหล่านี้

เป็นพันบาท ซึ่งเราสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงได้

ด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งจะทำให้คุณเห็นได้

อย่ างชัดเจนว่าในเดือนนั้นๆ คุณใช้เงินไปแล้วเท่าไหร่

และสามารถตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นส่วนไหนออกได้บ้าง

6.ปล่อยวางบัตรเครดิต

การนำเงินในอนาคตมาใช้จ่ายสำหรับสินค้าราคาแพง

ก็อาจจะเป็นเรื่องดีที่ทำให้คุณไม่ต้องแบกรับภาระทาง

การเงินที่หนักจนเกินไป แต่ก็มีไม่น้อยที่ใช้ บั ต ร เ ค ร ดิ ต

ไปกับทุกอย่ าง ซึ่งทำให้กลายเป็นการสร้างหนี้ก้อนเล็กๆ

อยู่ตลอดเวลา จนทำให้ไม่สามารถมีเงินเก็บได้ บัตรเครดิต

ก็เป็นเหมือนดาบ 2 คมที่อาจก่อให้เกิดหนี้สินจนทำให้ต้อง

นำเงินเดือนมาชำระหนี้ส่วนนี้จนหมด สุดท้ายก็เงินไม่พอใช้

Load More Related Articles
Load More By kondee
Load More In ข้อคิดดำเนินชีวิต
Comments are closed.

Check Also

รถสี่คัน กับครูแปดคนที่ต้องเจอในชีวิต (ให้ข้อคิดดีมาก)

“ รถสี่คันในชีวิต ” รถเข็นเด็ก รถจักรยาน รถยนต์ รถเข็นค … …