Home ข้อคิดดำเนินชีวิต มันอาจเหนื่อยที่ต้องระวังคำพูดคำตำหนิจนเราก็ไม่อย ากพูดอะไรไปในที่สุด

มันอาจเหนื่อยที่ต้องระวังคำพูดคำตำหนิจนเราก็ไม่อย ากพูดอะไรไปในที่สุด

4 second read
0
1,305

ปัญหา “ความเห็นต่าง” แม้ว่าจะชัดเจนรุนแรงที่สุดคือ เรื่องการเมืองในช่วง 10 กว่าปีหลัง (เริ่มตั้งแต่ราวปี พ.ศ.

2549-50) ที่หากไม่เห็นด้วยอะไรกับใครแล้ว พูดคุยกันย ากแต่ในความเป็นจริงหลายเรื่องทั้งในชีวิตประจำวัน

และในสังคมเราก็ไม่ค่อยรับความเห็นต่างของกันมานานแล้ว

ถ้าไตร่ตรอง หรือมองไปเปรียบเทียบที่อื่น ๆ เริ่มจากการเมือง ทุกประเทศก็ย่อมมีคนเห็นต่างกัน และในหลาย

ประเทศชัดเจนว่ามีเพียง 2 พรรคใหญ่ที่อยู่ตรงข้ามกันเสมือน ซ้าย กับ ขวา ทว่าเขาอาจมีปัญหามีความไม่พอ

ใจอีกฝ่ายกันอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง หรือหากกระทบกระทั่งก็ไม่แผ่ไปกว้างขวาง และยืดเยื้อที่สำคัญไม่ลุกลาม

ไปเรื่องอื่นเหมือนบ้านเรา… ทำไม?

การเมืองเป็นแค่ผลลัพธ์หนึ่งที่ชัดเจนในวันนี้เพียงเท่านั้น ส่วนตัวมองว่าปัจจัยพื้นฐานมาจากค่านิยม ลักษณะ

นิสัยของคนส่วนใหญ่ในประเทศเราเอง จึงส่งผลไปถึงปัญหาการเมืองด้วยต่างหาก..

ลองนึกดูตัวอย่ างในเรื่องการทำงาน ท่านคงเห็นได้จากประสบการณ์ การได้คุย ได้อ่าน ได้ฟัง หรือสัมผัสด้วย

ตัวเอง จะพบว่า หลายประเทศ คุณสามารถทะเลาะกันได้ด้วยประเด็นในงาน และจบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

คุณสามารถวิจารณ์สิ่งหนึ่งอย่ างเข้มข้น แต่อีกฝ่ายอาจยอมรับแต่โดยดี หรือกับคำว่า Feedback (ฟีดแบค-

การสะท้อนกลับ) ที่ผมเคยเขียนไปในบทความ ‘‘อย่ าโทษใคร ในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเรา’ ว่า แม้จะเป็น

ด้านดี แต่อีกฝ่ายก็มีสิทธิคิดว่า “กำลังโดนตำหนิ” ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการ ติเพื่อก่อ หรือเจตนาดีมาก

แค่ไหนก็ตาม

แน่นอนเราเหมารวมทุกคนในสังคมไม่ได้ อาจเป็นเรื่องส่วนบุคคล คนที่เปิดรับก็มี คนที่ไม่ค่อยเปิดรับก็มีทั้ง

บ้านเราและในประเทศอื่น ซึ่งผมก็ไม่ได้คิดเปรียบประเทศเรากับประเทศไหน แค่มองพื้นฐานความจริงของ

สังคม และค่านิยมบางประการของบ้านเรา

เมื่อเป็นความเชื่อ จึงห้ามลบหลู่..

เรื่องแรกคือ “ความเชื่อ” เมื่อประโยคอย่ างคำว่า “ไม่เชื่ออย่ าลบหลู่” ยังเป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ

โดยที่แม้ว่ามันจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม? เราห้ามลบหลู่ ผีสาง เทวดา ใด ๆ ทั้งสิ้นเพียงเ พ ร า ะมีคนเชื่อ?

ถ้าว่ากันตามครรลอง ก็ไม่ควรลบหลู่ความเชื่อใครนั่นแหละ แต่บางทีก็ต้องแยกแยะระหว่าง “ลบหลู่ กับ ดูถูก”

เช่น คนที่ไม่ไหว้เจ้า/เทพ อาจด้วยเหตุผลการนับถือศาสนา หรือไม่ได้ศรัทธาก็ตาม เช่นนี้ คือลบหลู่ หรือไม่?

คำตอบส่วนใหญ่อาจมองว่ายังไม่ลบหลู่ แต่ถ้ายกเท้าให้จนถึงกระทำในลักษณะย่ำยีบางประการ แบบนี้

“การกระทำ” ลบหลู่ ชัดเจน

แต่ถ้า “ทางคำพูด” ล่ะ??

ถ้าเพียงพูดขึ้นมาว่า “ไม่เชื่อเจ้า ไม่เชื่อเทพหรอก” เขาก็ว่าลบหลู่กันแล้ว หรือบางครั้งเพียงแค่ตั้งข้อสงสัย

พูดออกมาในทำนองว่า “ศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ?” เช่นนี้ก็มีคนครหาได้ทันที แล้วอะไรคล้าย ๆ นี้จึงกลายเป็นสิ่ง

ที่เรา.. พูดไม่ได้ ไม่งั้นไปลบหลู่เขา?

ความเชื่อ ต้องมองข้ามความถูก-ผิดไหม?

สมมติอย่ างหนึ่งแล้วกันว่า วันหนึ่งผมไปบ้านคุณแล้วชี้ไปจุดหนึ่งกลางหน้าบ้านแล้วบอกว่า “วิญญาณเจ้าคุณปู่

เสียชีวิตตรงนี้ ขอตั้งศาลเจ้าที่ได้ไหม?” พร้อมอ้างร่างทรง นิมิต เรื่องราวแปลก ๆ ให้คุณฟัง ถ้าคุณไม่เชื่อที่ผม

พูด บ้านคุณเองก็จะอยู่ไม่เป็นสุข (แช่งคุณด้วย) คำถามคือ คุณจะยอมให้ตั้งศาลไหม?

หลายคนคงตอบทันที “ไม่ให้ตั้ง” เ พ ร า ะไม่เชื่อ.. แต่ก็มีบางส่วนอาจบอกว่า “ถ้าเป็นเรื่องจริง(พิสูจน์) ก็จะให้

ตั้ง” ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องพิสูจน์ทางวิทย าศาสตร์ใด ๆ แค่เป็นการพิสูจน์ไปในทางวิญญาณ เหมือนกัน

โดยหาคนที่ตนเชื่อมา…ที่น่าสนใจคือหลายคน

“แม้จะตอบไม่ให้ตั้ง” ทันที แต่หากถามว่าเชื่อเรื่องวิญญาณไหม

ก็ย่อมมีที่บอกว่า “เชื่อ” และ “ไม่เชื่ออย่ าลบหลู่”…

ถ้าเรามองกันในระบบสังคมที่ยุติธรรม การที่ผมจะไปบุกรุกที่ดินคนอื่นด้วยเรื่องส่วนตัว เหตุผลส่วนตัวใดก็ตาม

โดยที่จะเกี่ยวกับไสยศาสตร์หรือไม่ มันก็ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว เ พ ร า ะกฎหมายมีไว้เพื่อการอยู่ร่วมกัน แต่พอมัน

มีความเชื่อตนเองเกี่ยวข้อง บางคนจึงคิดเอาว่า “ละเมิดได้ ยกเว้นได้” รวมถึง “แตะต้อง” ไม่ได้

ไม่ใช่แค่ “ความเชื่อ” หรือ ความเชื่อในทีนี้แท้จริงไม่ใช่แค่ไสยศาสตร์ แต่เป็นความเชื่อในความคิด ในความถูก

ต้อง กระทั่งความชื่นชม ชื่นชอบ ต่อบางสิ่งหรือบุคคลก็ตาม เราจึงไม่อาจวิจารณ์ ดารา คนดัง นักการเมืองแม้

กระทั่ง ไลฟ์โค้ช ทั้งที่ทุกคนมีด้านไม่ดี มีผิด มีพลาด แม้กระทั่งผมเอง ย่อมมีสิทธิถูกตำหนิ วิจารณ์ได้ ในแง่

การกระทำที่เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งแน่นอนต้องไม่ใช่ด่าทอหรือละเมิดสิทธิ

สิ่งของก็เช่นกันยี่ห้อกระเป๋า โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ และอื่น ๆ ที่หลายคนเชื่อมั่นศรัทธา เมื่อมีข้อผิดพลาดมา

ปกป้องประหนึ่งเป็นเจ้าของบริษัท ทั้งที่ไม่เคยได้สินค้าอะไรจากเขาฟรี ๆ ซึ่งหากคิดดี ๆ เราล้วนอยู่ในฐานะ

ผู้บริโภคควรร่วมกันปกป้องสิทธิ์และตรวจสอบคุณภาพสินค้านั้น แต่ก็มันก็เป็นไปได้ย าก

ค่านิยมบางประการ

นี่ก็ส่วนหนึ่งของรากฐานการทำให้เรา “พูดไม่ได้” ค่านิยมบางประการที่พูดกว้าง ๆ คือ ระบบอุปถัมภ์ ในบ้านเรา

ที่ฝังราก แม้จะมีทุกที่ทุกประเทศแต่ในรายละเอียดมีความแตกต่างกัน ในแง่ เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่ รุ่นพี่ต้อง

เคารพรุ่นน้อง หรืออดีตการเอาทั้งค่านิยมและความเชื่อมาผูกกันไว้ ตัวอย่ างมีมาช้านานคือ เถียงพ่อแม่

เสียชีวิตไปเป็นเปรต (เด็กยุคใหม่อาจโชคดีเจอเรื่องแบบนี้น้อยลง)

เคารพ กับ ให้เกียรติ ใช้ไม่เหมือนกัน

อาจเห็นว่า ที่จริงเรื่องการเคารพผู้ที่สูงกว่า ซึ่งไม่ใช่แค่อายุ การเคารพตำแหน่งหน้าที่ก็เป็นสากล และเป็นเรื่อง

ที่ไม่น่าจะใช่ปัญหา มองผิวเผินแล้วน่าจะดี แต่สำหรับบ้านเรานั้น “เคารพ กับ ให้เกียรติ” แยกแยะไม่ค่อยได้

คนที่อยู่สูงกว่าก็ยึดติดกับอำนาจก็มากมาย เช่น แค่เดินผ่านใครไม่เคารพ ก็ใช้ “อำนาจ” เข้าใส่ มันคือ

การบังคับกลาย ๆ ให้ต้องเคารพโดยบางทีเราก็ไม่เข้าใจ แล้วจะให้วิจารณ์ พูดอะไรกับคนเหล่านั่นหรือ?

การเคารพ จึงประกอบไปด้วยความ “ไม่เต็มใจ” ในหลายเรื่อง หัวหน้า หรือผู้บริหารเดินผ่านมาในที่ทำงานเรา

จึงต่างพากันแยกย้ ายเดินไปคนละทาง ในอีกด้านก้มหัวให้ ยกมือไหว้ พอพ้นไปกลับนินทา ตำหนิ ไปจนถึง

ด่าทอ การตัดสินใจในการทำงาน โดยไร้ไตร่ตรองได้ นี่คือตัวอย่ าง เคารพ แต่ไม่เคยให้เกียรติ..

นอกจากมุมผู้สูงกว่า คนที่อาวุโสน้อยกว่าหลายร าย เอะอะก็ต่อต้าน เท่าเทียม ไปเสียหมดเช่นกัน เช่นนี้

การร่วมทีม การร่วมมือ และื การทำอะไรเป็นระบบคงเป็นไปได้ย าก เ พ ร า ะการ เคารพ กับให้เกียรติ จะมอง

มุมใดมันคือส่วนหนึ่งของสิทธิ์ และหน้าที่ เหมือนที่กล่าวกันว่า เท่าเทียมไม่ได้หมายความว่าเท่ากันเสมอไป

ทั้งนี้ภาพที่ชัดเจนของการฝังรากของค่านิยมมันมีมากมายความมีอภิสิทธิ์ชนของคนบางกลุ่ม เส้นใหญ่ได้ก่อน

เด็กนายต้องได้ดี คุกยังคงไว้ขังคนจน แม้แต่ที่จอดรถ VIP นี่ก็คือการสร้างอภิสิทธิ์ชนประการหนึ่งใกล้ตัวที่

หากเราได้สิทธิ์ “เราเองก็คว้ามัน”

หลาย ๆ เรื่องพูดไปอาจดูไปในทางการเมืองและสังคม ซึ่งมันยิ่งแสดงชัดว่า เป็นเ พ ร า ะพื้นฐานของบ้านเรา

เป็นดังที่กล่าวไปจริง ๆ ทว่าเรื่องใกล้ตัวเราบางเรื่องมันชินชาไม่หนักหนารุนแรง เราจึงยอมรับได้ เ พ ร า ะ

ในอดีตเราต้องยอมรับอะไรมากกว่านี้นัก และอย่ าลืมว่านี่มันคือ พื้นฐาน รากฐาน ที่ปลายทางจะส่งผลไป

การเมือง หรือเรื่องส่วนตัว ก็ไม่ต่างกัน…จนหลายเรื่องเราลืมคิดไปแล้วและปล่อยผ่าน สุดท้ายเราก็ต้อง

ยอมรับอะไรที่ไม่อย ากยอมรับ “แต่ไม่ควรพูด” หรือพูดไปก็เปล่าประโยชน์..

แม้แต่คนใกล้ตัวและปมส่วนตัว

กลับมามองที่ใกล้ที่สุด แม้แต่คนใกล้ตัวหรือคนรอบตัว เอาตัวอย่ างที่มันไม่เกี่ยวข้องค่านิยม สังคม การเมือง

หรือความถูกต้องใด ๆ กับสิ่งที่เขาทำ เช่น วันหนึ่งคุณอาจพบว่า คนบางคนแต่งตัวสุดแย่มาทำงานความรู้สึก

คุณคือ “ไม่เห็นด้วย” ที่เขาแต่งแบบนั้น แต่ถ้าคุณพูด แม้จะเป็นการพูดที่ระวัง ไม่ได้พูดต่อหน้าใครก็ตาม

เขาอาจไม่ทันคิดอะไรด้วยซ้ำ ว่าจริงไหม? หรือเจตนาใด? อาการต่อต้านอาจมาก่อนทันทีด้วยอารมณ์

รุนแรงก็เป็นได้

ซึ่งนอกจากการซึมซับความเชื่อ ค่านิยมจนเป็นปกติไปแล้ว บางครั้งเหตุหนึ่ง ก็มาจากปมส่วนตัว “วัยเด็ก”

บางเรื่องที่เราหลายคนมีร่วมกันคือ ทำผิดต้องโดนตี ทำโทษ แต่ทำดีไม่ได้รับคำชม การกลัวทำผิดนั้น

เป็นเรื่องที่ดี แต่มันควรเรียนรู้เพื่อแยกแยะว่า “ทำดี ดีกว่า ทำผิด” ทว่า เมื่อชีวิต มีแต่ต้องเจอภาวะ “กลัว

จะผิด” การถูกตำหนิวิจารณ์ เมื่อโตขึ้นมา จึงเป็นเรื่องที่ไม่อย ากยอมรับ การต่อต้านทันทีบางทีก็

เป็นไปโดยไม่รู้ตัวในเราหลายคน เ พ ร า ะเป็นไปตามจิตใต้สำนึกอัตโนมัติ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้

ไม่ชอบ “ถูกวิจารณ์ใด ๆ”

นั่นเป็นเพียงสาเหตุเดียวในแง่ปมส่วนตัว ยังมีอีกหลายปมในใจที่ส่งผลคล้ายคลึงกัน สิ่งที่เห็นได้แตกต่าง

คือบางเรื่องรับได้ บางเรื่องแตะต้องไม่ได้ ไม่รับและไม่ฟัง

น่าจะดีที่สุด…

“ไม่เห็นด้วย แต่พูดไม่ได้” เ พ ร า ะหลายคนมีความเชื่อเช่นนั้นแล้วย ากจะเปลี่ยน เ พ ร า ะหลายคนมี

ค่านิยมเช่นนั้นแล้ว เ พ ร า ะสังคมมีบรรทัดฐานเป็นเช่นนี้แล้ว และเ พ ร า ะเราเองหลายคน เรียนรู้บริบท

แบบนี้ไปแล้วว่า ต้องเลี่ยง ต้องระวัง และต้องห้าม…

เราคงไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้เพียงลำพัง เหมือนหลาย ๆ เรื่องที่ดีที่สุดคือ เริ่มจากตัวเรา กล้าที่จะรับคำ

วิจารณ์และตอบโต้การวิจารณ์ในแบบสร้างสรรค์ พย าย า มแยกแยะ การวิจารณ์ กับการดูถูกออกจากกัน

ให้ชัดเจน มันอาจเหนื่อยที่ต้องระวังคำพูด คำตำหนิใด จนเราก็ไม่อย ากพูดอะไรไปในที่สุดซึ่งบางครั้ง

มันก็ดีที่ไม่พูด แต่บางครั้งมันก็ไม่.. และควรจะพูดออกไป แต่ก็ยังต้องเลือกเวลาและสถานการณ์ให้

เหมาะสมอีกที…

ที่สำคัญเราต้องระวัง “ความเชื่อ” ที่อาจหลงไปในอัตตาตัวตนและอคติโดยไม่เจตนา หรือ bias (ไบแอส-อคติ)

หลาย ๆ ประการ ผมชอบพูดว่า ความเชื่อมันน่ากลัว บางคนก็บอกว่าไม่จริงหรอก ความยึดมั่นถือมั่นต่างหาก

ก็เห็นด้วย มีความเชื่อไว้บ้างก็ดี แต่ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มันเกินพอดี ต้องพร้อมและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

เ พ ร า ะบางที “ที่เราไม่เห็นด้วย” แล้วคิดว่าพูดไม่ได้นั่น มันอาจเป็นเราเอง

ที่เป็นฝ่ายเชื่อผิด ๆ จึงไม่เห็นด้วยกับเขา เอาเสียเองก็ได้…

Load More Related Articles
Load More By Life
Load More In ข้อคิดดำเนินชีวิต
Comments are closed.

Check Also

ผู้ประเสริฐ ผู้ยอดเยี่ยม นี่แหละคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับลูกๆ

ชาย ผ้ า ถุ ง ของแม่ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม้ไม่ต้องปลุ … …