1. สอนให้เขารู้จักคุณค่าของเงิน
เมื่อเขาเริ่มโตขึ้นมากพอที่เราจะสอนเขาให้รู้จักตัวเลขต่างๆ
ได้แล้ว เราก็ให้เริ่มสอนให้เขาคุ้นเคยกับการแต กทอนของ
ตัวเงินแต่ละจำนวน โดยเริ่มจากจำนวนน้อย ๆ ก่อนก็ได้ เช่น
เงินบาทห้าเหรียญ จะเท่ากับเงินเหรียญห้า 1 เหรียญนั่นเอง
หรือ เงินเหรียญห้า 2 เหรียญ จะเท่ากับเงิน 10 บาท 1 เหรียญ
วิธีนี้ นอกจากจะเป็นการสอนให้เขารู้จักบวกลบเลขเบื้องต้นแล้ว
ยังช่วยให้เขาคุ้นเคยกับค่าของเงินแต่ละเหรียญอีกด้วย
2. สอนให้รู้จักที่มาที่ไปของเงิน วัยอนุบาลนี่แหละ
ในช่วงวัยที่ลูกน้อยของเรา เริ่มก้าวออกไปสู่โลกกว้าง เขาจะ
ถูกภาวะรอบข้างกล่อมเกลาให้รู้จักใช้เงินเป็นไปโดยปริยาย
และรวดเร็วกว่า เราจะมารู้ตัวอีกทีก็อาจจะเห็นลูกเรานั้นได้
ยื่นมือเล็กๆ ส่งตาแป๋วมาตรงหน้าเพื่อขอเงินไปซื้อลูกอม
ซื้อขนมกรุบกรอบ แล้วเราก็จงใช้โอกาสนี้ในการสอนให้เขา
รู้จักที่มาที่ไปของเงิน จงบอกเขาว่าเงินที่เราให้เขาไปใช้นั้น
เราได้มาอย่ างย ากลำบาก ต้องออกไปทำงานเพื่อแลกมันมา
และเวลาที่เราออกไปซื้อของใช้เข้าบ้าน ก็ให้พาเขาไปด้วย
เพื่อให้เขารู้ว่า เงินที่เราได้จากการทำงานนั้น จะต้องนำมา
ใช้จ่ายอะไรบ้างภายในบ้านบ้าง การสอนเขาโดยการใช้วิธีนี้
นั้น จะทำให้เขารู้ว่าเราจ่ายเงินออกไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร
3. รีบสอนเรื่องวินัยตั้งแต่เล็กๆ
เริ่มได้โดpในขณะที่เขายังแบมือขอเงินเราเพื่อนำไปซื้อขนม
นั่นแหละ โดยเริ่มจากการสร้างวินัยในการใช้เงินให้เป็นตัวอย่ าง
เพราะ เด็ กเล็กๆ ช่วง 2 ขวบ ก็มีการเรียนรู้แล้ว เขาจะมองดูจาก
พฤติก รรมของพ่อแม่เป็นตัวอย่ าง และเก็บไปคิดตามในภายหลัง
และเขาอาจจะยังไม่เข้าใจว่าโลกใบนี้มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน
โดยผ่านสื่อกลางที่เรียกว่าเงิน แต่พฤติกร รมของเราจะทำให้
เขาค่อยๆ เรียนรู้ไปเอง ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้เขาเรียนรู้เกี่ยว
กับการใช้เงินไปในลักษณะใด
4. สอนให้เขารู้จักการบริหารการใช้เงิน
เรายังสามารถสอนให้เขารู้จักวิธีจัดการกับการเงินอย่ างง่าย ๆ
ได้ด้วยการให้ค่าขนมเป็นรายวันกับเขา เพื่อให้เขามีประสบการณ์
ตรงในการใช้จ่ายเงิน ที่สำคัญก็คือเราจะต้องสม่ำเสมอกับจำนวน
และเวลาที่ให้ และต้องหนักแน่นพอที่จะไม่ให้เขาเพิ่ม เมื่อเขานั้น
ใช้เงินหมดก่อนเวลา และจะดียิ่งขึ้นอีกถ้าหากเราบอกให้เขารู้ว่า
ถ้าหากเขาใช้เงินจนหมดแล้ว เขาก็จะไม่มีเงินสำหรับใช้จ่ายใน
เรื่องที่มีความสำคัญกว่า หรือใช้จ่ายในสิ่งที่เขามีความต้องการ
มากกว่านั่นเอง ดังนั้น เขาจึงควรจะต้องรู้จักแบ่งเงินออกเป็น 2
ส่วนคือ ส่วนที่จะใช้ และส่วนที่ออมไว้สำหรับในวันหน้าด้วย