บริหารหนี้เป็นเงินออม วิธีเอาชนะภาระหนี้ใน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ
“ถ้าเราตักน้ำใส่โอ่งที่มันมีรูรั่ว
แม้ว่าเราขยันตักน้ำใส่โอ่งมากเท่าไหร่
น้ำก็ไม่เต็มโอ่งแน่นอน”
วิธีการจัดการเงินก็เช่นกัน เงินออมเปรียบเหมือนน้ำที่ไหลเข้ามาในกระเป๋าเรา ในขณะที่หนี้สินที่บริหารจัดการไม่ดี
นั้นจะทำลายกระเป๋าของเราให้ฉีก ทำให้เงินออมรั่วไหลออกจากกระเป๋าของเราไปจนหมด
ดังนั้น ถ้าเราอุดรอยรั่วต่าง ๆได้ทั้งหมด เงินออมของเราก็จะปลอดภัย ซึ่งวิธีการจัดการหนี้นั้นไม่ได้อาศัยเงินเพียง
อย่ างเดียว มันจะต้องใช้ความรู้ประกอบด้วยจึงจะทำให้เราหลุดพ้นจากการเป็นหนี้ได้
3 ขั้นตอนล็อคคอหนี้ให้อยู่หมัด
ขั้นตอนที่ 1 ทำใจยอมรับความจริง
ถ้าวิกฤตหนี้เกิดขึ้นแล้วอย่ าเสียเวลามานั่งโศกเศร้าเสียใจเ พ ร า ะมันไม่ได้ทำให้ยอดหนี้ลดลง สิ่งสำคัญที่ควรทำ
คือ ยอมรับแล้วบอกความจริงกับคนในครอบครัวเพื่อขอกำลังใจต่อสู้กับหนี้สินแม้ว่าช่วงแรกอาจจะรู้สึกเจ็บปวดใจ
กลัวความผิด แต่ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปได้แสดงว่าเราแก้ปัญหาหนี้ไปแล้ว 50% เ พ ร า ะเมื่อความตั้งใจพร้อม
ปัญหาย ากแค่ไหนก็มาหยุดยั้งเราไม่ได้
ขั้นตอนที่ 2 รู้จักหนี้ของตัวเอง
เมื่อรู้จักหนี้ของตัวเองแล้วจะทำให้เราจัดการหนี้ง่ายขึ้น เริ่มจากเขียนสรุปยอดหนี้จากสารพัดใบแจ้งหนี้ที่กองรวม
กันบนโต๊ะให้ออกมาเป็น “ตารางสรุปยอดหนี้” เ พ ร า ะจะทำให้เราเห็นภาพรวมของหนี้ได้อย่ างชัดเจนและจะทำ
ให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น ดังนี้
– สรุปรายละเอียดหนี้ เช่น กู้ยืมเงิน ไปใช้ ทำอะไรบ้าง เจ้าหนี้เป็นใคร เบอร์โทร เจ้าหนี้ จำนวนหนี้ อัตราดอกเบี้ย
เท่าไหร่วันครบกำหนดชำระหนี้จำนวนงวดที่เหลือจะทำให้เรารู้ว่าหนี้สินที่ต้องผ่อนรายเดือนเป็นกี่ % ของรายได้
– ตรวจสอบความถูกต้องของใบแจ้งหนี้โดยเปรียบเทียบกับบิลที่เราได้รับตอนรูดบัตรว่าตรงกันหรือไม่ ถ้ามีอะไร
ผิดปกติจะได้แจ้งเจ้าหน้าที่อายัดรายการนั้นทันที
– จัดประเภทหนี้คือหนี้ดี (เป็นหนี้ที่สร้างรายได้กลับมาให้เรา) กับหนี้ไม่ดี (เป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้กลับมาให้เรา)
โดยควบคุมการสร้างหนี้ไม่ดีให้น้อยกว่าการสร้างหนี้ดี
ขั้นตอนที่ 3 เขียนทางเลือกและลงมือทำ
หนี้แต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าใจวิธีการแก้ไขมากขึ้นบทความนี้จะยกตัวอย่ าง
หนี้สินของคนส่วนใหญ่ คือ การมีหลายเจ้าหนี้ พร้อมแนวทางแก้ปัญหามาฝากกันนะจ๊ะ
ตัวอย่ าง : เรามีรายได้ 30,000 บาท หลังจากเขียนตารางสรุปยอดหนี้จะทำให้เราเห็นว่าตนเองมีภาระต้องผ่อน
รายเดือน 60%ของรายได้ แบ่งเป็นหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ
เราจะเห็นในตัวอย่ างว่ามีเจ้าหนี้หลายราย ทั้งการผ่อนรถยนต์ บัตรเครดิตและหนี้นอกระบบ ซึ่งแต่ละรายก็จะมี
อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดจ่ายที่แตกต่างกัน ทำให้จัดการเงินค่อนข้างลำบาก
เราควรกำหนดสิ่งที่ควรทำ และทำอย่ างเคร่งครัด เช่น เจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ที่พอคุยได้ เลือกใช้หนี้ในระบบ
ที่ดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน โดยไม่ชำระแต่ดอก แต่ต้องให้ลดเงินต้นด้วย
สิ่งสำคัญ คือ หากลืมจ่ายไปสักงวดก็จะทำให้เสียประวัติการชำระหนี้ที่อาจจะทำให้การขอสินเชื่อครั้งต่อไปย ากขึ้น